36 C
Bangkok

Biosensors

- Advertisement -
- Advertisement -

Most Commented

เมื่อ FDA รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา

ความหวังของผู้ป่วยที่ความผิดปกติทางพันธุกรรมทางสายตาเริ่มสดใส เมื่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐใด้รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา

ไบโอเซนเซอร์ตรวจหาเชื้อโรค 16 ชนิดที่แตกต่างกันในครั้งเดียว

นักวิจัยจาก Stratophase จากประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการ Biosensors and Bioelectronics เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เรียกว่า SpectroSens chip เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดทางแสงแบบใหม่ โดย chip ตัวเดียวสามารถที่จะตรวจหาเชื้อโรคหรือสารชีวเคมีที่แตกต่างกันได้กว่า 16-20 ชนิดได้ในครั้งเดียว ซึ่งเป็นกลุ่มของสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น กลุ่มเชื้อโรคระบาด เชื้อแอนแทรกซ์ สารพิษ เป็นต้นchip ทำงานด้วยแสงสะท้อนที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน และในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ตัวสะท้อนแสงหรือที่เรียกว่า Bragg gratings...

ระบบอ่านผล ELISA ด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดได้เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ Lab on a Chip ซึ่งได้อธิบายเทคโนโลยีใหม่ในการอ่านผล ELISA ด้วยกล้องในโทรศัพท์มือถือ ถือว่าเป็นระบบที่จะช่วยให้แพทย์วินิขฉัยโรคได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอส่งตัวอย่างไปที่ห้องปฎิบัติการ

Aptamer คู่แข่งรายใหม่ของ antibody

Aptamer คือ DNA หรือ RNA สายเดี่ยว ที่สามารถจับกับโมเลกุลเป้าหมายได้อย่างจำเพาะ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในโครงสร้าง 3 มิติ เพื่อจับกับโมเลกุลเป้าหมาย Aptamer สามารถจับกับโมเลกุลต่างๆ ได้หลากหลาย

อนุภาคนาโน: สองหมัดน๊อคมะเร็ง

อนุภาคนาโนถูกใช้เพื่อผลลัพท์ของการนำส่งยาไปยังเซลล์มะเร็งที่ดีขึ้นด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบจากจับตัวของเลือดในร่างกาย นักวิจัยได้ออกแบบอนุภาคนาโนที่สามารถค้นหาเซลล์เนื้อร้าย และหลังจากนั้นก็ส่งสัญญาณเรียกอนุภาคนาโนอีกชนิดหนึ่งเพื่อขนส่งยามาฆ่าเซลล์มะเร็งได้ถูกที่Sangeeta Bhatia นักชีววิศวกรรม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่แมสซาซูเสตต์ และเพื่อนร่วมงานของเธอพบว่า เธอสามารถเพิ่มปริมาณยาที่ส่งไปยังเซลล์มะเร็งในหนูได้ถึง 40 เท่าเทียบกับกลุ่มควบคุม เมื่อใช้อนุภาคนาโนสองชนิดร่วมกัน ซึ่งเซลล์เนื้องอกในกลุ่มที่ใช้อนุภาคนาโนสองชนิดหยุดการเจริญเติบโตทันที ในขณะที่หนูกลุ่มที่ได้รับอนุภาคนาโนเพียงแค่หนึ่งชนิด เซลล์เนื้องอกก็ยังสามารถเจริญเติบโตได้ต่อไปได้ทีมของ Bhatia ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความสามารถของระบบการจับตัวเป็นลิ่มของเลือดเพื่อเพิ่มการตอบสนองที่มากขึ้นที่บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ การจับตัวเป็นลิ่มของเลือดเกิดจากปฏิกิริยาต่อเนื่องที่นำไปสู่โครงสร้างที่ประสานกันของโปรตีนที่ชื่อว่า ไฟบรินทีมนักวิจัยได้ออกแบบอนุภาคนาโนที่ได้อาศัยปฏิกิริยาต่อเนื่องของการจับตัวเป็นลิ่มของเลือด “เราใช้กระบวนการขยายสัญญาณโดยธรรมชาติของร่างกายเพื่อที่จะให้ยาตรงไปสู่เป้าหมายได้มากขึ้น” Bhahia กล่าว ซึ่งงานวิจัยชี้นนี้ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature material...

Phone Oximeter เชื่อม Pulse oximeter กับ iPhone

Phone Oximeter ได้ใช้เครื่อง Pulse Oximeter ที่ผ่านการพิจารณาจาก FDA แล้ว แต่นักวิจัยได้พัฒนาเครื่องให้สามารถทำงานและแสดงผลการตรวจผ่านทางหน้าจอ iPhone นอกจากจะตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจน (SpO2) ยังรายงานผลของอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจ

ตรวจหาการปฏิเสธอวัยวะ

การปฏิเสธ เป็นอะไรที่เจ็บปวด แต่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะมันเป็นอะไรที่มากกว่าเรื่องทางความรู้สึก แต่มันสำคัญถึงชีวิตทั้งชีวิตเลยทีเดียว การรอคอยอวัยวะใหม่ที่ยาวนานเป็นเดือน บางครั้งก็เป็นปี จากผู้บริจาค และยังต้องมีชีวิตรอดจากการผ่าตัดครั้งใหญ่ สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะยังคงต้องต่อสู้กับระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองไม่ให้ปฏิเสธอวัยวะชิ้นใหม่ที่ได้รับมาอีกด้วย

อิเล็กทรอนิคที่ยืดหยุ่น สู่หัวใจที่ยืนยาว

นักวิจัยได้พัฒนาหลอดสอดหัวใจ (catheter) ที่มีคุณสมบัติมากมาย โดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งได้รวมเอาอุปกรณ์จำเป็นหลายๆ อย่างสำหรับการผ่าตัดหัวใจ อุปกรณ์กึ่งตัวนำชนิดนี้ สามารถช่วยย่นระยะเวลาการผ่าตัดหัวใจ เพิ่มความคมชัด และยังคงสร้างแผนภาพสมองได้ทันทีอีกด้วย
- Advertisement -

Editor Picks

- Advertisement -