33.4 C
Bangkok
หน้าแรก Immunology ซวยซ้ำสองของ HIV

ซวยซ้ำสองของ HIV

RNA ไคเมอร์รา ได้ถูกแสดงว่าจะสามารถกำจัดการติดเชื้อ HIV ในหนูได้

RNA ไคเมอร์รา ได้ถูกแสดงว่าจะสามารถกำจัดการติดเชื้อ HIV ในหนูได้

Mariya Bibikova

โมเลกุลของ RNA ถูกปรับแต่งให้สามารถที่จะจู่โจม HIV ได้ จากสองทางกำลังแสดงผลที่เป็นบวก จากการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Science Translational Medicine [1] นักวิจัยกล่าวว่า โมเลกุลที่สามารถที่จะควบคุมกำจำลองตัวเองของไวรัสภายในเซลล์ที่ติดเชื้อ และทำให้ไวรัสที่ล่องลอยอยู่เป็นกลาง (ผู้แปล: ไม่สามารถที่จะไปติดกับเซลล์เม็ดเลือดขาวเซลล์อื่นๆ ต่อไปอีกได้) โดยสามารถที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสได้

โมเลกุลนี้ รู้จักกันในชื่อว่า ไคเมอร์รา (chimaera) ซึ่งประกอบด้วย RNA สองชนิดที่แตกต่างกัน คือ RNA รบกวนขนาดเล็ก (small interfering RNA: siRNA) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้าไปในเซลล์ที่ติดเชื้อ และยับยั้งการแสดงออกของยีนที่ช่วยในการจำลองตัวเอง สองยีนของ HIV และ ลำดับสาย RNA ที่เรารู้จักกันในรามของ แอปตาเมอร์ (aptamer) ที่สามารถจับอย่างแน่นหนากับโปรตีน gp120 ที่พบได้บนผิวของ HIV และเซลล์ที่ติดเชื้อ HIV แอปตาเมอร์นี้มีสองบทบาทที่สำคัญ คือ ช่วยนำส่ง siRNA ไปยังเซลล์ที่ติดเชื้อ HIV และยังช่วยจับไวรัสในกระแสเลือดให้เป็นกลาง

John Rossi นักชีววิทยาโมเลกุล ที่สถาบันวิจัยแบคแมน แคลิฟอร์เนีย อธิบายว่ามันคือโมเลกุลที่เป็นระเบิดเวลาที่ชาญฉลาด “มันระบุเป้าหมายเฉพาะกับเป้าหมายเท่านั้น” เขากล่าว

การศึกษาเกียวกับ ไคเมอร์รา ไม่ใช่เรื่องใหม่ [2] แต่ว่านี่เป็นการศึกษาแรกที่ทดลองในสัตว์ เพื่อที่จะทดสอบ ไคเมอร์รา คณะวิจัยได้ใช้หนูที่มีการดัดแปลงให้สามารถติดเชื้อ HIV ได้ เมื่อนักวิจัยฉีด ไคเมอร์รา หรือแอปตาเมอร์ เพียงอย่างเดียวให้หนู ปริมาณของไวรัสได้ลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตาม ไคเมอร์รา ก็มีศักยภาพและความสามารถในการลดจำนวนไวรัสได้มากกว่า แอปตาเมอร์ เป็นสัปดาห์

Rossi กล่าวว่า โมเลกุลนี้สามารถใช้เป็นการรักษาแบบเดี่ยวๆ หรือประกอบกับยาอื่นๆ ที่ใช้รักษา HIV ก็ได้ เพราะว่า ประสิทธิภาพของ ไคเมอร์รา ยังคงอยู่เป็นสัปดาห์ คนไข้ถึงต้องการฉีดมันอีกครั้งหนึ่ง

“โมเลกุลนี้ การออกแบบนี้ ช่างงดงามจริงๆ” Ben Berkhout นักไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม กล่าว เพราะว่าเขาไม่ค่อยแน่ใจว่า siRNA จะมีผลกระทบมากมายเพียงนี้ “มันมีการยับยั้งที่เหลือเชื่อมากๆ” เขากล่าว แต่ว่าการยับยั้งส่วนมากดูเหมือนว่ามันจะมาจากของ แอปตาเมอร์ ไม่ใช่ siRNA “ผมไม่เห็นความสามารถเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อใช้มันร่วมกัน” เขากล่าว

นักวิจัยค้นพบ siRNA ในเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า ลิมโฟไซต์ (เป้าหมายของไวรัส HIV) ของหนูที่ถูกรักษาโดย ไคเมอร์รา บ่งชี้ว่า โมเลกุลสามารถไปยังตำแหน่งที่มันต้องการอยู่ได้ และเมื่อพวกเขาได้วัดการแสดงออกของยีน ที่เป็นเป้าหมายของ siRNA (คือยีน tat และ rev) จากในบางเซลล์ เขาพบการแสดงออกลดลงประมาณ 70-90% หลักจากที่ได้รับการรักษา เขายังเห็นว่า siRNA ยังคงไปตัดยีน tat และ rev ที่ตำแหน่งที่ถูกต้องอีกด้วย ซึ่งข้อบ่งชี้นี้ ได้แสดงว่า โมเลกุลนี้มันทำงานในทางที่มันควรจะทำ

แต่ว่า Phillip Sharp นักชีววิทยาระดับโมเลกุล แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ กล่าวว่า ถึงแม้ว่าจากการศึกษาได้แสดงถึงการทำงานของ siRNA ในเซลล์ลิมโฟไซต์ของหนู แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าในทุกๆ เซลล์ลิมโฟไซต์จากหลากหลายสิ่งมีชีวิต จะมีการทำงานของ siRNA เช่นเดียวกัน ปัญหามันอยู่ที่ การที่จะทำให้ siRNA ไปอยู่ภายในเซลล์ และก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างสมบูรณ์ได้อย่างไรต่างหาก

เพราะว่า ไคเมอร์รา ไม่ได้ฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อ ดังนั้นมันจึงไม่ได้รักษา HIV แต่ว่าในขั้นถัดไป Rossi กล่าวว่า เขาจะใช้ ไคเมอร์รา เพื่อที่จะนำส่ง siRNA ที่สามารถไปฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อได้ “สิ่งที่เราต้องการจะทำคือ เริ่มต้นที่จะฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อทั้งหมด” เขากล่าว

อ้างอิง:

[1] Neff, C. et al. Sci. Transl. Med. 3, 66ra6 (2011).

[2] Zhou, J. et al. Nucleic Acids Res. 37, 3094-3109 (2009).

ที่มา: https://www.nature.com/news/2011/110119/full/news.2011.30.html

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.