30.6 C
Bangkok
หน้าแรก Medicine ผู้คิดค้นเด็กหลอดแก้ว คว้ารางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ปี 2010

ผู้คิดค้นเด็กหลอดแก้ว คว้ารางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ ปี 2010

Professor Robert Edwards

ในปี 2009 รางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ เป็นของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ Telomere

ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ปี 2010 คือ Robert G. Edwards จากผลงานการคิดค้น in vitro fertilization หรือการปฏิสนธิภายในแก้ว

การค้นพบวิธีการดังกล่าว สามารถช่วยเหลือผู้ที่มีบุตรยากได้ทั่วโลก ปัจจุบันมีเด็กที่ถือกำเนิดด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว ราว 4 ล้านคนทั่วโลก เด็กหลายคนตอนนี้ได้โตเป็นผู้ใหญ่ และพร้อมที่จะเป็นพ่อและแม่แล้ว ถือเป็นการพัฒนาทางการแพทย์สมัยใหม่ ที่สร้างคุณประโยชน์อยากมาก

Robert G. Edwards เกิดในปี คศ.1925 ในเมืองแมนเซสเตอร์ ประเทศอังกฤษ หลังจากเข้ารับราชการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เข้าเรียนในสาขาชีววิทยาที่ มหาวิทยาลัยเวลส์ (University of Wales)ประเทศอังกฤษ และมหาวิทยาลัยอีเด็นเบอร์(University of Edinburgh) ประเทศสก๊อตแลนด์ จบ PhD. ในปี คศ.1955 ด้วยงานวิจัย เกี่ยวกับการพัฒนาการของตัวอ่อนของหนู และเริ่มทำงานเป็นนักวิจัย ที่ศูนย์วิจัยทางการแพทย์แห่งชาติ(National Institute for Medical Research) ในกรุงลอนดอน ปี คศ.1958 และทำงานวิจัยเกี่ยวกับการปฎิสนธิของมนุษย์

ในปี คศ.1963 เขาได้เข้าทำงานในมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และบอร์นฮอลคลินิก(Bourn Hall Clinic)ในเวลาต่อมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์ทำเด็กหลอดแก้วแห่งแรกของโลก ผลจากงานวิจัยของเขาได้ประสบความสำเร็จ และให้กำเนิด “เด็กหลอดทดลอง” ครั้งแรกของโลก ในวันที่  25 กรกฎาคม คศ.1978

Louise Brown เด็กหลอดแก้ว คนแรกของโลก กับแม่ของเธอ Lesley

ปัจจุบัน Robert Edwards ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์

in vitro fertilization

เด็กหลอดแก้ว หรือ การปฏิสนธิภายในแก้ว (In Vitro Fertilisation/Fertilization – IVF) คือเทคนิคของการปฏิสนธิสังเคราะห์ โดยการนำเซลล์ไข่ออกมาจากร่างกายผู้หญิงที่มีปัญหามีบุตรยาก และนำสเปิร์มจากผู้ชายเข้าทำการปฎิสนธิ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นในภาชนะบรรจุของเหลวภายนอกร่างกาย จากนั้นนำไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว หรือเอ็มบริโอ เข้าไปฝั่งตัวในมดลูก เพื่อให้การตั้งครรภ์สมบูรณ์

ที่มา: https://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laureates/2010/press.html
ดาวน์โหลด Press Release (PDF)

sarapukhttp://www.amphur.in.th
คนที่อยากเห็น Biomedical Engineering ของประเทศไทย พัฒนาก้าวไกล

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.