31.6 C
Bangkok
หน้าแรก Bioinformatics รางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2009

รางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2009

The Nobel Prize in Chemistry 2009
The Nobel Prize in Chemistry 2009

รางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2009 มอบให้

  • Venkatraman Ramakrishnan
  • Thomas A. Steitz
  • Ada E. Yonath

ในผลงาน “การศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม”
ทั้ง 3 มีบทบาทสำคัญในการคิดค้นแบบจำลองของไรโบโซม ในระบบสามมิติ เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจไรโบโซมแต่ละตัวในระดับอะตอมมากยิ่งขึ้น ซึ่งแบบจำลองที่คิดค้นขึ้นถูกนำไปใช้ในการค้นหายาฆ่าเชื้อโรคแบบใหม่ (New Antibiotics) โดยไปสกัดกั้นการทำหน้าที่ของไรโบโซม เพราะเมื่อไรโบโซมไม่ทำงาน เชื้อโรคก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งช่วยชีวิตผู้คนได้มากมาย

ดาวน์โหลด Scientific Background on the Nobel Prize in Chemistry 2009

โครงสร้าง 3 มิติ ของไรโบโซม
โครงสร้าง 3 มิติ ของไรโบโซม

ไรโบโซม (Ribosome)

เป็นออร์แกเนลล์ที่สำคัญชนิดหนึ่ง พบทั้งในเซลล์ยูคาริโอต โปรคาริโอต  มีลักษณะกลมขนาดเล็กมาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 150-250 อังสตรอม  ประกอบด้วยโปรตีน และ rRNA ประมาณ 40% และ 60% ตามลำดับ ไรโบโซมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ไรโบโซมที่มีขนาดใหญ่จะมีค่าความเร็วในการตกตะกอนมากกว่า ไรโบโซมที่มี ขนาดเล็ก ค่าความเร็วในการตกตะกอนเรียกว่า Svedberg unit ใช้ตัวย่อ S ในไรโบโซมขนาดใหญ่มีค่า 80S ประกอบด้วยหน่วยย่อยขนาด 60S และ 40S ซึ่งพบในเซลล์พวกยูคาริโอต ไรโบโซมของเซลล์โปคาริโอต มีขนาดเล็กกว่าคือมี ขนาดเพียง 70S ประกอบด้วยหน่วยย่อย 50S และ 30S ไรโบโซมพบอยู่ตามไซโตพลาสซึม และในคลอโรพลาสและไมโตคอนเดรีย

ไรโบโซมแต่ละที่มีหน้าที่แตกต่างกันคือ ไรโบโซมที่อยู่บนเยื่อหุ้มเอนโดพลาสซึมจะสร้างโปรตีนที่ส่งออกนอกเซลล์ ได้แก่ เอนไซม์และฮอร์โมนต่าง ๆ ไรโบโซมที่อยู่บนเยื่อหุ้มนิวเคลียส เข้าใจกันว่า ทำหน้าที่สร้างโปรตีน ซึ่งใช้ในนิวเคลียส ส่วนไรโบโซมที่อยู่บนออร์แกเนลล์อื่นนั้นน่าจะทำหน้าที่สร้างโปรตีนสำหรับใช้ใน ออร์แกเนลล์นั้น ๆ

ข้อมูลอ้างอิง https://nobelprize.org , https://en.wikipedia.org/wiki/Ribosome

sarapukhttp://www.amphur.in.th
คนที่อยากเห็น Biomedical Engineering ของประเทศไทย พัฒนาก้าวไกล

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.