Aptamer คู่แข่งรายใหม่ของ antibody

, , 1 Comment

โครงสร้างของ aptamer ที่จำเพาะต่อ thrombin

aptamer มีรากศัพท์มาจากภาษา Latin ซึ่งมีความหมายว่า ‘to fit’

aptamer คือ DNA, RNA สายเดี่ยว หรือ peptide ที่สามารถจับกับโมเลกุลเป้าหมายได้อย่างจำเพาะ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในโครงสร้าง 3 มิติ เพื่อจับกับโมเลกุลเป้าหมาย Aptamer สามารถจับกับโมเลกุลต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น ไอออนของโลหะ (metal ion) สี (organic dye) กรดอะมิโน โปรตีน ไวรัส แบคทีเรีย และเซลล์ ซึ่ง aptamer ได้มาจากกระบวนการคัดเลือกในหลอดทดลอง (in vitro) ที่เรียกว่า systematic evolution of ligands by exponential enrichment (SELEX)

aptamer มีคุณสมบัติคล้ายกับ antibody แต่มีข้อดีกว่าคือ กระบวนการในการคัดเลือก aptamer ไม่จำเป็นต้องใช้สัตว์ทดลอง และใช้เวลาสั้นกว่าการผลิตแอนติบอดีมาก (การผลิตแอนติบอดีใช้เวลา 3-6 เดือน แต่การผลิต aptamer ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์) นอกจากนี้ aptamer ยังสังเคราะห์ง่ายโดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี ทนต่ออุณหภูมิสูง และสภาวะกรด-ด่างมากกว่า antibody และยังมีความสามารถในการแยกความแตกต่างโมเลกุลของสารที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกันได้ โดยอาศัยรูปร่างและพันธะที่จำเพาะในการจับกับโมเลกุลเป้าหมาย

ปัจจุบันมีงานวิจัยที่นำ aptamer มาใช้ประโยชน์หลากหลาย เช่น นำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค และใช้ในการรักษาโรค โดยการนำยามาติดเข้ากับ aptamer เพื่อให้ aptamer ขนส่งยาไปยังเป้าหมายที่จำเพาะ  ทำให้ยาออกฤทธิ์ตรงตำแหน่งที่ต้องการ

ด้วยคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับ antibody แต่กระบวนการผลิตง่ายกว่ามาก ทำให้ aptamer เข้ามามีบทบาทในการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคมากขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ aptamer จะถูกนำมาใช้ร่วมหรือทดแทน antibody ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการพัฒนาด้านการแพทย์ในอนาคต

ที่มา:

https://en.wikipedia.org/wiki/Aptamer
https://en.wikipedia.org/wiki/Systematic_Evolution_of_Ligands_by_Exponential_Enrichment
https://aptamer.icmb.utexas.edu/

 

One Response

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.