เจมส์ บอนด์ อาจจะมีนาฬิกาที่ยิงเลเซอร์ได้ หรืออาจจะมีโทรศัพท์ในคราบของไฟแช็ค แต่ว่าเขาก็ไม่เคยมี gadget ทีเป็นรอยสักเลย แต่ว่าตอนนี้ เราจะต้องขอบคุณนักวิจัย ที่สามารถพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคที่บางมากๆ โดยมันสามารถที่จะแปะไว้บนผิวหนังคล้ายๆ กับรอยสักชั่วคราวได้ ซึ่งรอยสักอิเล็กทรอนิคส์นี้ ได้ทำทางไปสู่การติดตั้งเซ็นเซอร์ สำหรับติดตามการทำงานของสมองหรือหัวใจ โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมืออะไรเพิ่มเติมเลย หรือบางทีอาจจะให้มันทำงานได้โดยอาศัยคำสั่งเสียง หรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม รอยสักอิเล็กทรอนิคส์: Gadget ชิ้นใหม่สุดไฮเทค
Category: Biosensors
นาโนเทอร์โมมิเตอร์
เมื่อทฤษฎีควอนตัมและเพชรเม็ดจิ๋วช่วยให้สามารถวัดความผันผวนของอุณหภูมิได้ในระดับเศษเสี้ยวองศา
เครื่องมือที่แต่ก่อนพัฒนามาใช้สำหรับควอนตัมคอมพิวเตอร์ ตอนนี้สามารถนำมาใ้ช้วัดอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ที่มีชีวิตได้แล้ว โดยจากการใช้เทคนิคของผลการเปลี่ยนแปลงทางควอนตัมในในเพชรขนาดเล็ก หรือ nanodimonds สำหรับการจับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิแค่เพียงเศษเสี้ยวขององศา โดยเมื่อนักวิจัยให้ความร้อนแก่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเซลล์โดยการใช้เลเซอร์ “และเราก็มีเครื่องมือในการควบคุมอุณหภุมิในระดับเซลล์ได้แล้ว และเราก็สามารถที่จะศึกษาระบบทางชีวภาพที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินั้นๆ ได้” ปีเตอร์ เมาเรอร์ นักฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าว [1] อ่านเพิ่มเติม นาโนเทอร์โมมิเตอร์
Abiliti เทรนด์ใหม่ลดอ้วน
Abiliti: เทรนด์ใหม่รักษาโรคอ้วน
การรักษาโรคอ้วน มีหลายวิธีด้วยกัน อาทิ การผ่าตัดดูดไขมัน การผ่าตัดเย็บกระเพาะอาหาร แต่ว่า Abiliti นี่ เป็นวิธีใหม่ ในการรักษาโรคอ้วน กล่าวคือ เป็นการผ่าตัดเพื่อติดอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิค เข้าไปในช่องท้อง โดยที่อุปกรณ์ชิ้นนี้ จะควบคุมการกินอาหารของเรา โดยที่เราสามารถตั้งโปรแกรมการกินอาหารได้ เมื่อเรากินอาหารในช่วงที่ไม่ตรงกับโปรแกรมที่เราตั้งไว้ตอนต้น Abiliti จะส่งสัญญาณไปยังกระเพาะอาหาร แล้วกระเพาะอาหารก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองอีกต่อหนึ่ง เพื่อบอกว่า เราอิ่มแล้ว ซึ่งในที่สุดเราก็จะไม่อยากกินอาหารไปเอง
https://www.youtube.com/watch?v=cMTu02MBEfo
วีดีโอแสดงการทำงารของ Abiliti ในการควบคุมความอยากอาหาร อ่านเพิ่มเติม Abiliti เทรนด์ใหม่ลดอ้วน
iKnife: มีดมีจมูก
iKnife เป็นมีดผ่าตัดอัจริยะ ที่สามารถดมกลิ่นของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมันจะช่วยให้ศัลยแพทย์ ตัดชิ้นเนื้อร้าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากศัลยแพทย์ไม่สามารถบอกได้ว่า ขอบเขตของเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งมีมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากเขาตัดเนื้อร้ายทิ้งมากเกินไป อาจจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวมากขึ้น แต่ถ้าหากเขาตัดชิ้นเนื้อน้อยเกินไปล่ะ มันอาจจะทำให้เนื้อร้ายที่หลงเหลืออยู่ลุกลามอีกครั้งหนึ่งก็เป็นไปได้ แต่ตอนนี้ปัญหาเหล่านี้ก็คลีคลายลงไปเมื่อนักวิจัย ได้พัฒนามีดผ่าตัด ที่สามารถดมกลิ่นควันที่เกิดจากการจี้ชิ้นเนื้อด้วยความร้อนขณะที่ผ่าตัด แล้วสามารถที่จะบอกได้ทันทีเลยว่า เนื้อเยื่อตรงนั้นนั้นเป็นเซลล์มะเร็งหรือว่าเป็นเซลล์ปกติ อ่านเพิ่มเติม iKnife: มีดมีจมูก
เมื่อ FDA รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา
ความหวังของผู้ป่วยที่ความผิดปกติทางพันธุกรรมทางสายตาเริ่มสดใส เมื่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐใด้รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา
องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (The Food and Drug Administration: FDA) ได้รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา โดยที่ FDA ได้ไฟเขียวให้ Second Sight’s Argus II Retinal Prosthesis System ซึ่งการรับรองในครั้งนี้ ก็ทำให้ผู้ป่วยตาบอดโดยสาเหตุทางพันธุกรรม (retinitis pigmentosa: ขาดเซลล์ไวต่อแสงที่อยู่ในเรตินา) มีความหวังมากยิ่งขึ้น
ไบโอเซนเซอร์ตรวจหาเชื้อโรค 16 ชนิดที่แตกต่างกันในครั้งเดียว
นักวิจัยจาก Stratophase จากประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการ Biosensors and Bioelectronics เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เรียกว่า SpectroSens chip เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดทางแสงแบบใหม่ โดย chip ตัวเดียวสามารถที่จะตรวจหาเชื้อโรคหรือสารชีวเคมีที่แตกต่างกันได้กว่า 16-20 ชนิดได้ในครั้งเดียว ซึ่งเป็นกลุ่มของสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น กลุ่มเชื้อโรคระบาด เชื้อแอนแทรกซ์ สารพิษ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม ไบโอเซนเซอร์ตรวจหาเชื้อโรค 16 ชนิดที่แตกต่างกันในครั้งเดียว
ระบบอ่านผล ELISA ด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดได้เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ Lab on a Chip ซึ่งได้อธิบายเทคโนโลยีใหม่ในการอ่านผล ELISA ด้วยกล้องในโทรศัพท์มือถือ ถือว่าเป็นระบบที่จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอผลจากการส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ที่ห้องปฎิบัติการ อีกทั้งยังสามารถส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยวินิจฉัยได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยทำงานผ่านทางโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว อ่านเพิ่มเติม ระบบอ่านผล ELISA ด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ
Aptamer คู่แข่งรายใหม่ของ antibody
aptamer มีรากศัพท์มาจากภาษา Latin ซึ่งมีความหมายว่า ‘to fit’
aptamer คือ DNA, RNA สายเดี่ยว หรือ peptide ที่สามารถจับกับโมเลกุลเป้าหมายได้อย่างจำเพาะ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในโครงสร้าง 3 มิติ เพื่อจับกับโมเลกุลเป้าหมาย Aptamer สามารถจับกับโมเลกุลต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น ไอออนของโลหะ (metal ion) สี (organic dye) กรดอะมิโน โปรตีน ไวรัส แบคทีเรีย และเซลล์ ซึ่ง aptamer ได้มาจากกระบวนการคัดเลือกในหลอดทดลอง (in vitro) ที่เรียกว่า systematic evolution of ligands by exponential enrichment (SELEX) อ่านเพิ่มเติม Aptamer คู่แข่งรายใหม่ของ antibody
อนุภาคนาโน: สองหมัดน๊อคมะเร็ง
อนุภาคนาโนถูกใช้เพื่อผลลัพท์ของการนำส่งยาไปยังเซลล์มะเร็งที่ดีขึ้น
ด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบจากจับตัวของเลือดในร่างกาย นักวิจัยได้ออกแบบอนุภาคนาโนที่สามารถค้นหาเซลล์เนื้อร้าย และหลังจากนั้นก็ส่งสัญญาณเรียกอนุภาคนาโนอีกชนิดหนึ่งเพื่อขนส่งยามาฆ่าเซลล์มะเร็งได้ถูกที่ อ่านเพิ่มเติม อนุภาคนาโน: สองหมัดน๊อคมะเร็ง
Phone Oximeter เชื่อม Pulse oximeter กับ iPhone
เมื่อ smartphone ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งความสามารถในการประมวลผล การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต การใช้งานง่าย และรวมทั้งผู้ผลิต smartphone ได้ออกชุดอำนวยสะดวกในการพัฒนา application ให้ง่ายต่อการประยุกต์ใช้ตัวเซนเซอร์ที่อยู่ภายเครื่อง หรือเซนเซอร์ที่เชื่อมต่อจากภายนอก เราจึงได้เห็นอุปกรณ์ต่างๆ มีการพัฒนาให้ทำงานร่วมกับ smartphone มากชึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ได้เห็นเครื่องวัดความดันเลือดเชื่อมกับ iPhone มาแล้ว อ่านเพิ่มเติม Phone Oximeter เชื่อม Pulse oximeter กับ iPhone