
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการนอนพักหลังเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สามารถช่วยเปลี่ยนสิ่งนั้นให้กลายเป็นความทรงจำ นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่ฝันถึงการทำงานใหม่ๆ จะสามารถทำงานนั้นได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้นอนหลับหรือไม่ได้ฝัน
อาสาสมัครได้ถูกขอให้ทำการเรียนรู้โครงสร่้างของเขาวงกตสามมิติที่ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะสามารถหาทางออกจากเขาวงกตเสมือนจริงได้ในหลายชั่วโมงให้หลัง
อาสาสมัครที่ได้รับการอนุญาตให้นอนพักผ่อนและผู้ที่จำได้ว่าได้ฝันเกี่ยวกับการหาทางออกนั้นต่างสามารถหาทางไปสู่จุดสังเกตได้เร็วกว่า
นักวิจัยคาดว่าการฝันนั้นคือสัญลักษณ์บ่งว่า สมองส่วนที่อยู่เหนือการควบคุม (unconcious parts of the brain) ยังคงทำงานอย่างหนักเพื่อประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับเขาวงกต
ดร. โรเบิร์ต สติกค์โกลด์ แห่ง Harvard Medical School หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยกล่าวว่า ความฝันนั้นเป็นตัวบ่งชี้ว่าสมองกำลังทำงานเพื่อประมวลผลปัญหาในหลายๆ ระดับ
เขายังกล่าวอีกว่า “ความฝันอาจะเป็นภาพสะท้อนของความพยายามของสมองในการหาความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสำหรับความทรงจำที่จะสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ในอนาคต”
…
ดร. เอริน แวมสเลย์ นักเขียนร่วมได้กล่าวไว้ว่า งานศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วสมองส่วนที่อยู่เหนือการควรคุม (non-concious brain) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
“ทุกๆ วัน เรารวบรวมและเผชิญกับข้อมูลและประสบการณ์ใหม่ๆ เป็นจำนวนมหาศาล มันก็เหมือนกับความฝันกำลังถามคำถามว่า เราจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในชีวิตได้อย่างไร?” เธอกล่าว
งานวิจัยซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในวารสารทางการศึกษา Cell Biology อาจสามารถให้คำตอบที่เป็นประโยชน์กับคำถามนี้ได้
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า อาจจะมีหนทางนำปรากฎการณ์เกี่ยวกับความฝันนี้ ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนรู้และความจำ ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจสามารถเรียนได้ดีกว่า หากอ่านทบทวนอย่างจริงจังก่อนเข้านอน หรือนอนกลางวันก่อนเข้าเรียนช่วงบ่าย
ที่มา : https://news.bbc.co.uk
Leave a Reply