36.4 C
Bangkok
หน้าแรก Popular Biosensors iKnife: มีดมีจมูก

iKnife: มีดมีจมูก

iKnife เป็นมีดผ่าตัดอัจริยะ ที่สามารถดมกลิ่นของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมันจะช่วยให้ศัลยแพทย์ ตัดชิ้นเนื้อร้าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

iknife
iKnife: มีดผ่าตัดอัจฉริยะ ที่สามาถจำแนกได้ว่าเนื้อเยื่อที่กำลังผ่าตัดอยู่ เป็นมะเร็งหรือไม่

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากศัลยแพทย์ไม่สามารถบอกได้ว่า ขอบเขตของเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งมีมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากเขาตัดเนื้อร้ายทิ้งมากเกินไป อาจจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวมากขึ้น แต่ถ้าหากเขาตัดชิ้นเนื้อน้อยเกินไปล่ะ มันอาจจะทำให้เนื้อร้ายที่หลงเหลืออยู่ลุกลามอีกครั้งหนึ่งก็เป็นไปได้ แต่ตอนนี้ปัญหาเหล่านี้ก็คลีคลายลงไปเมื่อนักวิจัย ได้พัฒนามีดผ่าตัด ที่สามารถดมกลิ่นควันที่เกิดจากการจี้ชิ้นเนื้อด้วยความร้อนขณะที่ผ่าตัด แล้วสามารถที่จะบอกได้ทันทีเลยว่า เนื้อเยื่อตรงนั้นนั้นเป็นเซลล์มะเร็งหรือว่าเป็นเซลล์ปกติ มีดผ่าตัดชิ้นนี้ ทำงานด้วยการวิเคราะห์ ไขมันองค์ประกอบ ซึ่งถือว่าเป็นโมเลกุลหลักที่เป็นองค์ประกอบของเยื้อหุ้มเซลล์ เนื่องจากมีการศึกษามาก่อนหน้านี้แล้วว่า สัดส่วนของปริมาณกรดไขมันบางชนิดในเซลล์มะเร็ง จะแตกต่างจากเซลล์ปกติ แต่ว่าการที่จะทำอย่างนั้นได้ จำเป็นต้องตัดเอาชิ้นเนื้อออกมาก่อน แล้วก็ต้องเตรียมชิ้นเนื้อ เพื่อที่จะเอาไปผ่านเครื่องมือวิเคราะห์มวลของสารที่เป็นองค์ประกอบ (mass specrometry) ซึ่งสุดท้าย ค่าของมวล ประจุไฟฟ้า และโครงสร้างของสารที่เป็นองค์ประกอบ จะเป็นตัวบอกว่า เนื้อเยื่อชิ้นนั้นๆ เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

Zoltán Takáts นักเคมีชาวฮังการี ก็สงสัยว่า จะเป็นไปได้ไหมที่เขาจะสามารถเร่งวิธีการแบบเดิมๆ ให้เร็วขึ้นด้วยการวิเคราะห์ควันที่เกิดจากมีดไฟฟ้าที่ศัลยแพทย์ใช้ผ่าตัดและจี้หลอดเลือด อย่างตรงๆ เลย โดยที่ไม่ต้องเอาชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ถึงแม้ว่าเขาจะทราบดีว่า ควันที่ได้นั้น เป็นของผสมที่มีองค์ประกอบสกปรกมาก แต่ว่าองค์ประกอบหลักๆ ของควันก็คือ โมเลกุลที่แตกตัวเป็นไอออนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโมเลกุลชนิดนี้เองเป็นสิ่งเดียวกันกับที่เครื่องมือวัดมวล (mass spectrometer) ต้องการ และในที่สุดเขาและทีมงาน ก็ประสบความสำเร็จที่สามารถแสดงให้เห็นว่า รูปแบบของกรดไขมัน ที่ได้จากการดูดเอาควันจากมีดผ่าตัดไฟฟ้า แล้วนำไปวัดด้วย mass spectromter สามารถจำแนกเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ละประเภทได้ และนี่เองก็เป็นจุดเริ่มต้นในการเอาแนวความคิดนี้ มาใช้จริงในทางคลีนิค

โดยทีมของเขา กับ Jeremy Nicholson นักชีวเคมี ที่เป็นหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์และมะเร็ง Imperial College ได้ทดสอบสิ่งที่เขาขนานนามว่า “มีดอัจฉริยะ (intelligent knife)” หรือว่า iKnife ในห้องผ่าตัด โดยเริ่มต้นที่ทีมของเขาได้เก็บตัวอย่างของเนื้อเยื่อมะเร็งประมาณ 3,000 ชิ้น จากผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกว่า 300 ราย ซึ่งเนื้อเยื้อเหล่านี้ ได้รับการยืนยันจากนักพยาธิวิทยาว่าบางส่วนเป็นเนื้อเยื่อปกติ และบางส่วนก็เป็นชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็ง หลังจากนั้น เขาก็ได้จับคู่เนื้อเยื้อแต่ละชิ้นเข้ากับ สัดส่วนของไขมันที่เป็นองค์ประกอบ ที่วิเคราะห์จากการสัมผัสกับ iKnife สุดท้าย เขาก็แสดงให้เห็นว่า iKnife สามารถที่จะจำแนกเนื้อเยื้อปกติออกจากเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งได้ และยิ่งกว่านั้นก็คือ iKnife สามารถบอกได้ว่า จุดไหนเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่กระจายของเนื้อร้าย และจุดไหนเป็นการเจริญเติบโตลำดับถัดมา ที่ได้รับเชื้อมะเร็งจากจุดอื่นๆ ของร่างกาย

ต่อมานักวิจัยยังทดลองการใช้ iKnife ในการผ่าตัดมะเร็งจริงๆ อีก 81 ครั้ง โดยใช้เทียบจากฐานข้อมูลของชิ้นเนื้อ 3,000 ชิ้น ดังที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง โดยที่ iKnife สามารถที่จะแยกเนื้อเยื้อที่เป็นมะเร็งออกจากเนื้อเยื้อปกติ ได้เกือบทั้งหมด โดยใช้การยืนยันจากผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาภายหลัง “แค่เพียง 1 – 3 วินาที สำหรับการวิเคราะห์ผลของ iKnife ซึ่งถือว่าเป็น ของมูลที่ได้ ณ เวลาจริงเลย” Takáts กล่าว (เมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ของนักพยาธิวิทยาซึ่งจะใช้เวลามากกว่า 30 นาที) และผลลัพธ์ที่น่าประทับใจก็คือ มันจะช่วยลดเวลาการผ่าตัดของคนไข้ และทำให้ศัลยแพทย์สามารถทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยขั้นต่อไปของงานวิจัยก็คือ การหาว่าหลังจากที่คนไข้ที่ผ่าตัดด้วย iKnife มันสามารถที่จะช่วยลดจำนวนคนไข้สำหรับการเกิดเนื้อร้ายซ้ำได้หรือไม่

ถึงแม้ว่าจะมีนักวิจัยพยายามใช้วิธีอื่นๆ ในการหาขอบเขตของเซลล์มะเร็ง อาทิการฉีดสีชนิดพิเศษที่สามารถไปติดเฉพาะที่เซลล์มะเร็งได้ แต่ iKnife มันง่ายกว่า เพราะว่า “มันไม่ใด้เพิ่มวิธีใดๆ ไปจากวิธีปกติที่ศัลยแพทย์ทำอยู่แล้วเลย” Nicholson กล่าว ศัลยแพทย์เพียงแค่ดูวีดีโอแสดงตอนที่ตัดเนื้อเยื่อว่า เซลล์ที่กำลังตัดอยู่นี้ เป็นเซลล์อะไร เช่นสีแดงบอวว่าเป็นเซลล์มะเร็ง สีเขียวเป็นเซลล์ปกติ สีเหลืองเป็นบางอย่างที่อยู่กลางๆ

ที่มา: https://news.sciencemag.org/sciencenow/2013/07/smart-knife-sniffs-out-cancer-ce.html

บทความก่อนหน้านี้ไรโบโซมกล
บทความถัดไปAbiliti เทรนด์ใหม่ลดอ้วน

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.