36.4 C
Bangkok
หน้าแรก Biomaterial ของเหลือจากการผ่าตัดหัวใจคือแหล่งทรัพยากร stem cells

ของเหลือจากการผ่าตัดหัวใจคือแหล่งทรัพยากร stem cells

stem cell

กลุ่มวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล (Univerysity of Bristol) ได้ทำการสกัดเอา stem cells จากหลอดเลือดดำ เพื่อนำมาทดลองใช้กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นเลือดใหม่ในหนู

นักวิจัยกล่าวว่าการค้นพบนี้จะทำให้การรักษากล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายเป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้าน stem cell กล่าวเตือนว่า การรักษายังต้องใช้เวลาอีกนาน

Stem cells เป็นสิ่งที่ถูกจับตามองในวงการวิจัยทางการแพทย์ เนื่องด้วยความสามารถในการผลิตเซลล์ต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ อีกทั้งยังสามารถมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายโดยโรคภัยไข้เจ็บและจากการบาดเจ็บ

ในขณะที่ตัวอ่อนของมนุษย์เริ่มพัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิดเพียง “pluripotent” cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อเยื่อทุกชนิด ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามที่จะสกัดนำเซลล์นี้ออกมาจากผู้ใหญ่เพื่อที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนและนำไปใช้ต่อไป

การค้นพบครั้งล่าสุดเป็นการนำ “ขยะ” จากการผ่าตัดหัวใจจำนวนมากในแต่ละปีมาใช้

คนไข้โรคหัวใจมักจะพบปัญหาหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจนั้น เกิดการตีบตัน ทำให้เนื้อเยื่อหัวใจถูกทำลายจากการขาดเลือด ซึ่งนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกและหัวใจวาย

การทำบายพาสหัวใจ (a heart bypass operation) จะทำโดยนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายซึ่งโดยปกติจะใช้หลอดเลือดจากขาของคนไข้ และนำมาใช้แทนที่หลอดเลือดหัวใจที่อุดตันหรือตีบตัน

โดยการผ่าตัดนั้นมักจะนำหลอดเลือดจากขา ในส่วนที่เกินกว่าการใช้งานจริง

ในการศึกษา ทีมมหาวิทยาลัยบริสตัลได้สามารถนำส่วนที่เหลือจากการผ่าตัดนั้นมาสกัด “progenitor” cells ในห้องทดลอง และกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนได้

การทดลองในหนู

เมื่อ stem cells ถูกฉีดเข้าไปในขาของหนูที่ถูกทำให้ขาดเลือดมาเป็นเวลานานเพื่อจำลองสถานการณ์ขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ พบว่าเซลล์บริเวณนั้นถูกกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่และทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น

Professor Paolo Madeddu ผู้นำการวิจัย กล่าวว่า “นี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีคนสามารถทำการสกัด stem cells ออกจากหลอดเลือดดำที่เหลือทิ้งในการผ่าตัดหัวใจ”

“เซลล์พวกนี้ยังสามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ ได้รับการรักษาเพิ่มเติมจาก stem cells จากร่างกายของพวกเขาเอง”

แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ยังต้องมีการศึกษาค้นคว้าอีกมาก กว่าวิธีการนี้จะสามารถนำไปใช้ในมนุษย์ได้จริง

Professor Qingbo Xu แห่ง King’s College London กล่าวว่า กลไกการทำงานของเซลล์ยังจำเป็นต้องถูกทำการศึกษาเพื่อความเข้าใจที่ถ่องแท้อีกมาก

“วิธีการนี้มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ได้จริงในอนาคต แต่คงจะไม่สามารถใช้รักษากับผู้ป่วยที่ถูกทำผ่าตัดบายพาสหัวใจคนเดียวกัน เพราะ stem cells ต้องใช้เวลาในการสกัดและกระตุ้นให้เพิ่มจำนวนในห้องทดลอง”

“แต่มันคงยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าเราจะสามารถทำการทดลองจริงกับผู้ป่วยได้”

Professor Peter Weissberg หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ของ the British Heart Foundation ผู้ให้การสนับสนุนงานวิจัย กล่าวว่า โอกาสในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายนั้น เปรียบเสมือน “holy grail” สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

เขายังกล่าวอีกว่า “งานวิจัยนี้ทำให้การใช้ยีนบำบัด (gene therapy) กับหัวใจที่มีปัญหาเข้าใกล้ความเป็นจริงมากอีกระดับหนึ่ง และที่สำคัญคือหากเราค้นพบได้ว่า chemical messages ที่ใช้ในการกระตุ้นของ stem cells คืออะไร ในอนาคตเราอาจจะมียาที่สามารถรักษากล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายโดยตรงเลยก็ได้”

ที่มา : https://news.bbc.co.uk

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.