นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ (University of Leeds) ประเทศสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ไวรัสสามารถถูกนำมาดัดแปลงเพื่อใช้ในการค้นหาและทำลายเซลล์มะเร็งได้
จากงานวิจัยพบว่า การผนวกโปรตีนบางชนิดเข้าไปกับเชื้อไวรัสนั้น สามารถทำให้ไวรัสจดจำสัญลักษณ์พิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ (unique markers) ของเซลล์มะเร็ง ดังนั้นเชื้อไวรัสที่ผ่านการดัดแปลงจึงสามารถส่งผ่านยีนบำบัด (gene therapy) ไปยังเซลล์มะเร็งนั้นได้
งานวิจัยชิ้นนี้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Cancer Research UK ยังเป็นเพียงงานวิจัยภายในห้องทดลองเท่านั้น แต่สำหรับตอนนี้นักวิจัยก็คาดหวังที่จะได้ทำการทดลองเทคนิคนี้ในผู้ป่วยจริง
การทดลองพบว่า เมื่อเชื้อไวรัสสามารถจดจำเซลล์มะเร็งได้นั้น มันก็สามารถส่งผ่านยีนไปยังเซลล์ไวรัสเหล่านั้น ซึ่งยีนที่ถูกส่งผ่านสามารถเป็นได้ทั้ง ยีนที่จะไปทำให้เซลล์มะเร็งมีความอ่อนไหวต่อยารักษามากขึ้น (‘suicide’ genes) หรือเปลี่ยนยีนในเซลล์ที่ทำให้เซลล์กลายเป็นเซลล์มะเร็งเป็นยีนตัวอื่นแทน
ซึ่งวิธีการที่เรียกว่า “ยีนบำบัด” นั้น ไม่ใช่วิธีการใหม่
ดร. จอห์น เชสเตอ ผู้นำทีมวิจัย กล่าวว่า “ยีนบำบัดได้กลายเป็นสิ่งล้าสมัยในช่วงสองปีที่ผ่านมา แต่อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่ว่าการใช้ยีนบำบัดจะไม่ได้ผล แต่เรายังไม่สามารถหาหนทางที่ดีที่สุดในการใช้ยีนบำบัดต่างหาก”
แม้ว่าการวิจัยในห้องทดลองนั้นจะใช้เพียงเซลล์มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แต่ทีมทดลองกล่าวว่า วิธีการดังกล่าวสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้กับเซลล์มะเร็งทุกชนิด
ดร. จอห์น เชสเตอ ยังกล่าวอีกว่า “งานวิจัยนี้ได้จุดประเด็นวิธีการใหม่ๆ ในการใช้ไวรัสเพื่อยีนบำบัดอย่างเหมาะสม และก็ได้ผลการทดลองออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ”
“ตอนนี้ สิ่งที่เราต้องทำคือการนำวิธีการนี้ไปใช้กับผู้ป่วยจริง เพื่อเปรียบเทียบผลว่าได้ผลจริงเช่นเดียวกับผลในห้องทดลองหรือไม่”
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงบนวารสารวิทยาศาสตร์ชื่อ Gene Therapy
ที่มา : https://news.bbc.co.uk
Leave a Reply