38.9 C
Bangkok
หน้าแรก News แผ่นนาโนไฟเบอร์ที่อาจช่วยซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายได้

แผ่นนาโนไฟเบอร์ที่อาจช่วยซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายได้

nanopatch for the heart Credit: Frank Mullin/Brown University

เมื่อเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตันขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง จะทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจในบริเวณนั้นตาย และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ถือเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประชากรดลกเลยทีเดียว ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำการรักษาซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ การรักษาเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายกำลังจะเป็นจริง

นักวิจัยจาก Brown University ประเทศอเมริกา ร่วมกับ Indian Institute of Technology Kanpur จากประเทศอินเดีย ได้สร้างแผ่นคาร์บอนนาโนไฟเบอร์(carbon nanofiber path)ที่สามารถทำให้เกิดการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจขึ้นมาใหม่ได้ นับเป็นอีกหนึ่งความหวังที่จะนำแผ่นนี้ไปใช้กับบริเวณที่มีเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตายได้ในอนาคต

แผ่นนาโนไฟเบอร์ดังกล่าวมีขนาดความยาว 22 มิลลิเมตร หนา 15 ไมครอน มีโครงสร้างเหมือนโครงเลี้ยงเซลล์ scaffold สามารถยืดและหดตัวได้เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจ โดยสร้างจากการผสมกันระหว่างโพลิเมอร์และคาร์บอนนาโนไฟเบอร์(ท่อขดของคาร์บอนโมเลกุล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 60-200 นาโนเมตร) ซึ่งไฟเบอร์มีคุณสมบัติเป็นตัวนำอิเล็กตรอนที่ดี และยังสามารถส่งถ่ายกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นตลอดในหัวใจได้ดี

ทีมวิจัยได้ทดลองวางแผ่นคาร์บอนนาโนไฟเบอร์บนฐานรองที่เป็นแผ่นแก้ว แล้วทำการซีด(seed)เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ cardiomyocyte เข้าไป ผลการทดลองพบว่า เมื่อเวลาผ่านไป 4 ชั่วโมง เซลล์มีการเกาะติดบนแผ่นนาโนไฟเบอร์ และเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับแผ่นควบคุมที่เป็นโพลิเมอร์อย่างเดียว และมีความหนาแน่นของเซลล์เพิ่มขึ้น 6 เท่าเมื่อเวลาผ่านไป 5 วัน และนอกจากนี้ยังพบว่ามีความหนาแน่นของเซลล์ประสาทบนแผ่นนาโนไฟเบอร์เพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่อเวลาผ่านไป 4 วัน อีกด้วย

จากข้อมูลทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ ความยืดหยุนของโครงเลี้ยงเซลล์ คุณสมบัติทางด้านไฟฟ้า มีความเป็นไปได้ที่นำแผ่นนาโนไฟเบอร์นี้ไปใช้ในการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์ประสาทขึ้นมาใหม่ ในบริเวณที่มีการตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายส่วนที่ทีมวิจัยต้องศึกษาต่ออีกมาก ล่าสุดทีมวิจัยต้องการรู้ถึงรูปแบบของโครงเลี้ยงเซลล์ที่เหมาะสม เพื่อที่จะทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าหัวใจคล้ายคลึงกับเซลล์กล้ามเนื้อมากที่สุด รวมทั้งการวางแผ่นนาโนไฟเบอร์ที่มีแรงดันไฟฟ้าและการเต้นของหัวใจตลอดเวลา อีกทั้งยังต้องมีการทดสอบว่าเซลล์ cardiomyocyte ที่ถูกสร้างขึ้นบนแผ่นนาโนไฟเบอร์นั้นสามารถทำงานได้เหมือนเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้จริง

ข้อมูล-https://www.gizmag.comhttps://news.brown.edu

sarapukhttp://www.amphur.in.th
คนที่อยากเห็น Biomedical Engineering ของประเทศไทย พัฒนาก้าวไกล

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.