Home Biomaterial Nanopatch อนาคตของการให้วัคซีน ที่ง่ายและประหยัด

Nanopatch อนาคตของการให้วัคซีน ที่ง่ายและประหยัด

0
Nanopatch

ศาสตราจารย์ มาร์ค เคนเดลล์ จากสถาบันวิศวกรรมชีวภาพและนาโนเทคโนโลยี ประเทศออสเตรเลีย (Institute for Bioengineering and Nanotechnology) และทีมงานของเขา ได้ทำการสร้างวิธีการให้วัคซีนแบบใหม่  วิธีที่ดังกล่าวได้ใช้แผ่นนำส่งวัคซีนที่เรียกว่า  Nanopatch แผ่นนี้มีขนาดประมาณเท่าเล็บนิ้วมือ ใช้ติดที่ผิวหนัง วัคซีนจะถูกส่งผ่านไปกระตุ้นเซลล์ antigen-presenting cells อย่างเช่น macrophage, dendritic cells ที่พบได้ในชั้นใต้ผิวหนัง ให้มาทำปฎิกิริยากับวัคซีน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างวัคซีนต่อไป

ทีมวิจัยได้ทำการทดลองในหนูพบว่าภูมิคุ้มกันตอบสนองได้เท่ากับการให้วัคซีนผ่านทางการฉีดด้วยเข็มฉีดยา แต่วิธีใหม่นี้ลดปริมาณของวัคซีนได้มากกว่า 100 เท่า  นอกจากจะสามารถนำส่งวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังประหยัดปริมาณของวัคซีนได้ การเก็บง่ายขี้นไม่ต้องแช่เย็น ไม่ต้องมีสารประกอบช่วยให้วัคซีนสามารถการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น(adjuvants) และไม่ต้องให้วัคซีนซ้ำหลายครั้ง

ศาสตราจารย์ เคนเดลล์ กล่าวว่า nanopatch มีขนาดเล็กกว่าแสดมป์ และภายในนั้นจะประกอบด้วยชิ้นเล็กหลายพันชิ้นที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาปล่าว วัคซีนไข้หวัด จะถูกทำให้แห้ง ทำการเคลือบบนผิวและนำไปติดที่ผิวหนังของหนูได้เลยภายใน 2 นาที วัคซีนที่ถูกใช้มีประมาณน้อยมาก เราเชื่อแน่ว่า nanopatch จะเพิ่มจำนวนการให้วัคซีนแก่คนได้มากขึ้น

เมื่อเทียบการให้วัคซีนแบบฉีดในปัจจุบันกับการใช้ nanopatch แล้วมันจะมีราคาถูกกว่ามาก และใช้งานง่ายเป็นโยชน์กับกลุ่มที่เป็นโรคกล้วเข็มฉีดยา หรือเด็กเล็ก การจัดส่งวัคซีนไปในบริเวณที่มีการระบาดของโรคทำได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องแช่เย็น หรืออาจส่งไปทางไปรษณีย์แบบธรรมดาได้เลย

ที่มา : https://www.uq.edu.au
via : https://www.medgadget.com

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version