Home Biomaterial สารเคลือบเครื่องมือแพทย์ระดับนาโน ป้องกันและทำลายเชื้อแบคทีเรีย

สารเคลือบเครื่องมือแพทย์ระดับนาโน ป้องกันและทำลายเชื้อแบคทีเรีย

1
Nanoscale coating

Staphylococcus aureus ที่ดื้อยา Methicillin หรือชื่อย่อ MRSA (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus) เป็นหนึ่งในแบคทีเรียก่อโรคที่มีการดื้อยาสูง เป็นปัญหาสำคัญในโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีการเปิดแผล กลุ่มที่ใช้เครื่องมือที่มีการสอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระบบภูมิอ่อนแอ จะมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายกว่าคนปกติ นักวิจัยจาก Rensselaer Polytechnic Institute ได้ทำการวิจัยเพื่อลดการติดเชื้อในกลุ่มดังกล่าว โดยได้สร้างฟิล์มเคลือบบางในระดับนาโนเมตร เพื่อใช้เคลือบเครื่องมือผ่าตัด หรือเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันและทำลายเชื้อ MRSA

สารเคลือบผิวผลิตขึ้นจาก คาร์บอนนาโนทิวป์ที่มีเอนไซม์ไลโซสเตฟิน(carbon nanotubes with lysostaphin) ไลโซสเตฟินเป็นเอนไซม์ที่สร้างจากเชื้อ Staphylococus spp. ที่ไม่ก่อโรค แต่สามารถป้องกันและทำลายเชื้อ Staphylococcus aureus ที่เป็น MRSA ได้  ผลจากทดลองเคลือบพื้นผิวด้วยสารที่ผลิตขึ้น พบว่าสามารถฆ่าเชื้อได้เกือบ 100% ในเวลา 20 นาทีหลังจากเชื้อ MRSA สัมผัสพื้นผิว

พื้นผิวที่ถูกเคลือบสามารถทำลายเชื้อ MRSA ได้

วิธีนี้ไม่เหมือนวิธีอื่นที่มีการเคลือบพื้นผิวด้วยยาฆ่าเชื้อ หรือสารเคมี การเคลือบด้วยนาโนทิวป์ตัวนี้จะทำลายเฉพาะเชื้อ MRSA ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สามารถล้างอุปกรณ์ได้โดยไม่สูญเสียประสิทธิภาพ และเก็บไว้ในที่แห้งได้นานถึง 6 เดือน

ความรู้เพิ่มเกี่ยวกับเอนไซม์ไลโซสเตฟิน (Lysostaphin)

ไซม์ไลโซสเตฟิน เป็นเอนไซม์ที่ถูกผลิตจากเชื้อ Stapylococcus ที่ไม่ก่อโรค เป็นเอนไซม์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แต่สามารถทำลายเชื้อ Staphylococcus aureus ที่เป็น MRSA ได้ และเป็นเอนไซม์ที่มีขายในทางการค้าแล้ว มันมีผลอย่างเร็วในการทำลายเชื้อ MRSA  เมื่อเอนไซม์ไลโซสเตฟินสัมผัสกับตัวเชื้อจะทำการย่อยผนังเซลล์ของเชื้อทันที ทำให้เซลล์แตกและตาย มีความจำเพาะต่อเชื้อ MRSA สูง เอนไซม์จะไม่เป็นพิษกับเซลล์ของมนุษย์ และแบคทีเรียชนิดอื่น

เมื่อเอนไซม์จับอยู่กับคาร์บอนนาโนทิวป์ จะทำให้เพิ่มความคงตัว และความไวในการทำปฎิกิรยามากขึ้น

ที่มา: https://www.gizmag.com , ASCnano Journals

1 COMMENT

  1. นอกจาก MRSA ยังมี PAN MDR A.Bomb ฯลฯ นะครับ
    ถ้ากันได้แค่ MRSA ผมว่ายังไม่คุ้มค่าในการผลิตในเชิง Commercial ครับ
    เพราะ แค่อุปกรณ์ UP กับ Anti Septic ราคาถูกกว่า แถมป้องกันได้หลายเชื้อกว่า
    แถมป้องกันเจ้าหน้าที่ด้วยครับ
    แต่ถือเป็นนิมิตหมายอันดีครับ ที่มีคนคิด อุปกรณ์ Spontanous Antiseptic ได้
    อย่างน้อยก็ช่วยเหลือชีวิตเพื่อนร่วมโลกได้ครับ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version