นักวิจัยฝรั่งเศสรายงานวิธีตรวจกรุ๊ปเลือดแบบใหม่

, , Leave a comment

นักวิจัยฝรั่งเศสได้รายงานวิธีตรวจกรุ๊ปเลือดแบบใหม่ที่รวดเร็วขึ้น สำหรับเลือดที่ได้บริจาคที่จะนำไปให้คนไข้ที่ต้องการเลือด เพื่อความถูกต้องและความเข้ากันได้(matching) ระหว่างเลือดของผู้บริจาคกับผู้รับบริจาค ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก วิธีตรวจแบบใหม่เรียกว่า HiFi-Blood 96 ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ Gaelle C. Le Goff และคณะ จาก The Institut de Chimie et Biochimie Moléculaires et Supramoléculaires (ICBMS) ประเทศฝรั่งเศส วิธีใหม่นี้นักวิจัยได้กล่าวว่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัยมากขึ้น ราคาถูกกว่าวิธีที่มีอยู่ กำลังจะวางจำหน่ายเร็วๆนี้

รูปที่ 1 กระบวนการในการบริจาคเลือดและการให้เลือด(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)

รูปที่ 1 ด้านซ้าย คือ กระบวนการบริจาคเลือดและการถ่ายเลือด(transfusion) เมื่อมีคนบริจาคเลือด เลือดจะถูกเก็บในถุงเฉพาะที่สามารถเก็บเลือดได้นาน และนำมาเก็บที่ธนาคารเลือด(blood bank)และตรวจกรุ๊ปเลือด เมื่อผู้ป่วยต้องการเลือด เจ้าหน้าที่จะเจาะเลือดจากผู้ป่วยมาตรวจกรุ๊ปเลือด แล้วนำมาตรวจหาความเข้ากันได้ระหว่างเลือดผู้บริจาคกับผู้ป่วย ถ้าเข้ากันได้ เลือดถุงนั้นจึงจะนำไปถ่ายเลือดให้แก่ผู้ป่วย  ด้านขวา เปรียบเทียบการตรวจกรุ๊ปเลือด 2 วิธีระหว่าง Phenotyping และ Genotyping

Extended blood group typing คือ วิธีการตรวจกรุ๊ปเลือดที่ต้องการรายละเอียดของชนิดของกรุ๊ปเลือดมากกว่าการตรวจด้วยวิธีปกติในธนาคารเลือด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ matching ที่ดีขึ้นระหว่างผู้บริจาคกับผู้ป่วยที่ต้องการเลือด ทำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่วิธีนี้ยังถูกใช้งานน้อย อาจจะเป็นเพราะความยุ่งยาก และกรุ๊ปเลือดที่มีในปัจจุบันที่ต้องการความถูกต้องสูงยังมีน้อย(ABO, Rhesus, and Kell)

Routine blood typing คือ วิธีตรวจกรุ๊ปเลือดที่ธนาคารเลือดทั่วไปใช้ เป็นวิธีที่ตรวจหาแอนติเจนบนผิวของเม็ดเลือดแดง(Phenotype) มาตรฐานการตรวจเป็นแบบการดูการตกตะกอนของเม็ดเลือด เมื่อมีการจับกันระหว่างแอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดกับแอนติบอดี้ในน้ำยาตรวจวัด ข้อจำกัดของวิธีตรวจแบบนี้คือ ปัญหาการทำปฎิกิริยาที่สั้นและความแรงในบาง case และยังทำเป็นอัติโนมัติไม่ได้ ทำในปริมาณมากไม่ได้

อธิบายขั้นตอนการตรวจวัดด้วยวิธี HiFi-blood 96

รูปที่ 2 HiFi-Blood 96

รูปที่ 2 (a) การออกแบบ HiFi-Blood 96 plate ในแต่ละ Plate จะมีหลุมสำหรับทำใช้งาน 96 หลุม ซึ่งในแต่ละหลุม จะมี spots เล็กๆอยู่ภายในอีก 36 จุด ที่แยกเป็นกลุ่ม test และ control แต่ละจุดทำการ Immobilize probe ไว้แต่ละชนิดแตกต่างกัน ตามชนิดของกรุ๊ปเลือด (Kell, Kidd, Duffy, MNS).

(b) สรุปขั้นตอนการตรวจวัดแบบย่อของวิธี HiFi colorimetric assay โดยจะเริ่มที่นำเลือด(Whole blood) มาทำการสกัด DNA ออกมา จากนั้นทำการเพิ่มจำนวน DNA ในตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยวิธี multiplex PCR โดยใช้  primers ที่มี biotine ติดอยู่ด้วย จากนั้นเติม streptavidin-alkaline phosphatase conjugates  สำหรับ DNA ที่เกิดการ hybridization กับ immobilized probes ตาม spots ในหลุมทดลอง ผลของการทำปฎิกิริยาสุดท้ายจะเกิดการจับกันระหว่าง biotine กับ streptavidin  เอนไซม์ที่อยู่กับ streptavidin จะเปลี่ยน substrate(BCIP/NBT) ให้เป็นตะกอนสีม่วง จากนั้นตรวจวัดสีบน plate ด้วย  flatbed scanner และปรับภาพให้เป็น grayscale เพื่อนำภาพมาวิเคราะห์หาความแรงของปฎิกิริยาต่อไป ซึ่งสามารถทำได้ครั้งละ 96 ตัวอย่างตามจำนวนหลุมที่มีอยู่บน plate

ดูรายละเอียดของการทดลอง และผลการทดลองได้จากลิงค์ที่มา

อ้างอิงข้อมูล : Gaelle C. Le Goff, Jean-Charles Bres et all,Robust, High-Throughput Solution for Blood Group Genotyping, Analytical Chemistry 2010, Vol. 82, No. 14 [ลิงค์]

via : https://www.medgadget.com/

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.