Home Biomaterial เมื่อ FDA รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา

เมื่อ FDA รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา

0

ความหวังของผู้ป่วยที่ความผิดปกติทางพันธุกรรมทางสายตาเริ่มสดใส เมื่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐใด้รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา

องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (The Food and Drug Administration: FDA) ได้รับรองการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินา โดยที่ FDA ได้ไฟเขียวให้ Second Sight’s Argus II Retinal Prosthesis System ซึ่งการรับรองในครั้งนี้ ก็ทำให้ผู้ป่วยตาบอดโดยสาเหตุทางพันธุกรรม (retinitis pigmentosa: ขาดเซลล์ไวต่อแสงที่อยู่ในเรตินา) มีความหวังมากยิ่งขึ้น

Argus II
Argus II: มีองค์ประกอบสองส่วน คือ (A) ส่วนของแว่นตาและกล้องวีดีโอ จะส่งสัญญาณภาพแบบไร้สายไปยังอิเล็กโทรด (B) ที่ถูกปลูกถ่ายใว้บนเรตินา ก่อนที่จะส่งสัญญาณไปตามเส้นประสาทไปยังสมอง

สำหรับ Second Sight นี้ FDA ได้ให้ใบรับรอง ภายหลังจากที่มีการพัฒนามาแล้วกว่า 20 ปี และมีการทดลองทางคลีนิคที่ใช้เงินไปมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยครึ่งหนึ่งมาจาก สถาบันจักษุศึกษาแห่งชาติ และอีกครึ่งหนึ่งมาจากนักลงทุนเอกชน Argus II ได้รับการรับรองมาก่อนแล้วจากสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี  2011 และได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยไปแล้วกว่า 30 คน ในปี 2007 ซึ่งคณะที่ปรึกษาด้านจักษุวิทยาของ FDA มีมติอย่างเอกฉันท์ในปี 2012 ให้รับรองผลิตภัณฑ์นี้

Argus II ประกอบด้วย กล้องวีดีโอขนาดเล็ก เครื่องส่งสัญญาณที่ต่อกับแว่นตา หน่วยประมวลผลของวีดีโอ และเรตินาเทียม ซึ่งสามารถทำงานแทนทีเซลล์เก่าที่เสียหายไปของเรตินาได้ ถึ่งแม้ว่ามันจะไม่ทำให้การมองเห็นกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง แต่ว่าอุปกรณ์เหล่านี้ก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการรับรู้ภาพ และการเคลื่อนไหวต่างๆ ดียิ่งขึ้น โดยการใช้หน่วยประมวลผลที่สามารถเปลี่ยนรูปจากกล้องวีดีโอให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิค แล้วข้อมูลเหล่านั้นก็ได้รับการส่งสัญญาณแบบไร้สาย ไปยังเรตินาเทียม

Retinitis pigmentosa เป็นความผิดปกติที่สามารถพบได้ในคนทุกๆ  4,000 คนในสหรัฐอเมริกา และมีเป็นอยู่ทั้งหมด 1.5 ล้านคนทั่วโลก โดยความผิดปกตินี้ จะทำลายเซลล์รับแสงของเรตินา ทั้งเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย (เซลล์รับแสง และเซลล์รับสี) ซึ่งเซลล์์ทั้งสองนี้ จะส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมองเพื่อประมวลผลเป็นภาพ โดยในอนาคต Second Sight วางแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของเขาให้สามารถช่วยผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตาตามอายุ ซึ่งคล้ายๆ กันแต่ว่าเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปมากกว่า

บริษัทวางแผนที่จะทำให้ Agus II มีจำหน่ายทั่วสหรัฐในช่วงปลายปีนี้ สร้างเครือข่ายของศัลยแพทย์และโรงพยาบาล ที่สามารถทำการผ่าตัดปลูกถ่าย อุปกรณ์ชี้นนี้ได้

Argus II ไม่ใช่เพียงแค่อุปกรณ์เดียวในสายของการพัฒนา Retinal Implant AG เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่แตกต่างออกไปนิดหน่อย โดยการทำให้เรตินาเทียม สามารถสอดเข้าแทนที่บางส่วนของเรตินาเดิม โดยที่เทคโนโลยีของบริษัทนี้ก็คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคขนาดจิ๋ว (ขนาด 3 x 3 มิลลิเมตร หนา 0.1 มิลลิเมตร) ซึ่งประกอบด้วยไดโอคไวแสงจำนวนกว่า 1,500 ตัว ตัวขยายสัญญาณและขั้วไฟฟ้า สามารถผ่าตัดเข้าไปไว้ในบริเวณของ fovea ได้ ซึ่งส่วนนี้เอง เป็นส่วนที่ให้ความชัดเจนของการมองเห็นในคนที่กำลัง อ่านหนังสือ ดูทีวี หรือขับรถ อุปกรณ์ตัวนี้จะช่วยผู้ป่วย โดยอย่างน้อยที่สุดแผ่นวงจรที่ถูกผ่าตัดเขามานี้ก็ช่วยให้การประสานงานระหว่างเซลล์ประสาท กับเรตินา สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หลังจากนั้นเซลล์ประสาทจะส่งกระแสประสาทตามเส้นประสาทตาไปยังส่วนของสมองที่ควบคุมการมองเห็น (visual cortex) ซึ่งเป็นบริเวณที่เรารับความสึกของภาพต่างๆ แหล่งให้พลังงานของอุปกรณ์นี้ จะวางตัวอยู่ใต้ผิวหนังที่หลังหูโดยจะต่อกับเรตินาด้วยสายไฟเส้นเล็กๆ โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้จะแตกต่างจาก Argus II คือ มันไม่ต้องใช้แว่นตา หรือกล้องวีดีโอใดๆ เลย โดยในเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว บริษัทนี้ ได้ประกาศว่า ผู้ป่วยชาวอังกฤษ คนแรก ประสบความสำเร็จจากการผ่าตัดปลูกถ่ายอุปกรณ์ชิ้นนี้ จนถึงปัจจุบันนี้ ศัลยแพทย์ได้ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายเรตินาเทียมให้กับผู้ป่วยไปแล้วกว่า 36 คน จากสองการทดลองทางคลีนิคในระยะเวลา 6 ปี

Retinal Implant RG: เป็นแผ่นไมโครชิปที่ผ่าตัดฝังเข้าไปบนเรตินา

ที่มา: https://www.nature.com/news/fda-approves-first-retinal-implant-1.12439

“ผู้เขียนบทความมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกับตัวผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทแต่อย่างไร”

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version