33 C
Bangkok
หน้าแรก Biomaterial นักวิจัยสร้างต้นแบบไตเทียมชนิดฝั่งตัวในร่างกายได้เป็นครั้งแรก

นักวิจัยสร้างต้นแบบไตเทียมชนิดฝั่งตัวในร่างกายได้เป็นครั้งแรก

ไตเทียมชนิดฝั่งตัวในร่างกาย

นักวิจัยสร้างต้นแบบไตเทียมชนิดฝั่งตัวในร่างกายได้เป็นครั้งแรก
ไตเทียมดังกล่าวนี้ ภายในประกอบด้วยฟิวเตอร์อยู่นับพันตัว ที่มีลักษณะคล้ายกับ Bioreactor และใช้หลักการของ water-balance เหมือนกับการทำงานของไตจริง ซึ่งได้รับการพัฒนาร่วมกันจาก วิศวกร นักชีววิทยา และทีมแพทย์ โดยหัวหน้าทีมวิจัยคือ Dr. Shuvo Roy จาก  UCSF (University of California, San Francisco) Department of Bioengineering and Therapeutic Sciences.

ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการสร้างไตเทียมด้วยซิลิคอน โดยมีช่องให้เซล์ท่อไตมีชีวิตอยู่ภายในได้ และลดขนาดของอุปกรณ์ให้มีขนาดเล็กลงเท่าถ้วยกาแฟ (ใกล้เคียงกับขนาดของไตจริง) เครื่องมือที่ผลิตขึ้นจะถูกนำเข้าไปฝั่งตัวในร่างกายของผู้ป่วยในอนคต เครื่องมือเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ดี โดยไม่ต้องทำการกินยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่รบกวนการใช้ชีวิตปกติของผู้ป่วย

ไตเทียมถูกออกแบบเพื่อผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายไตใหม่ ซึ่งในแต่ละปีมีผู้บริจาคน้อยมาก ไตเทียมที่ผลิตขึ้นนี้ จะลดอัตราการเกิดภาวะไตวายของผู้ป่วย ที่เป็นเป็นโรคไตนับล้านทั่วโลก ซึ่งจะช่วยลดปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปได้เป็นจำนวนมาก ทีมวิจัยได้เตรียมการฝั่งไตเทียมในสัตว์ทดลอง และวางแผนที่จะทดสอบในร่างกายมนุษย์ในอีก 5-7 ปีข้างหน้า

ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย หรือผู้ป่วยไตวาย เฉพาะในอเมริกา มีมากถึง 5 แสนคนต่อปี (ของไทยราว 2 แสนคน อ้างอิง) ปัจจุบันการรักษาให้หาย คือการเปลี่ยนถ่ายไตใหม่ ซึ่งตัวเลขของผู้ต้องการเปลี่ยนถ่ายไตเพิ่มขึ้น 5-7 เปอร์เซ็นทุกปี สาเหตุส่วนใหญ่มาจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

การฟอกเลือด คือการขจัดของเสียที่สะสมภายในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถทำงานเพื่อกำจัดของเสียเหล่านั้นได้ การฟอกเลือดเป็นเพียงการทำงานทดแทนการทำงานของไตที่เสียไป ต้องทำการรักษาตลอดไป การฟอกเลือดของผู้ป่วยโรคไตในปัจจุบัน จะต้องทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และครั้งละ 3-5 ชั่วโมงต่อครั้ง การฟอกเลือดจะต้องมีการปั๊มเลือดจากร่างกายของผู้ป่วยเข้าสู่เครื่องฟอกเลือดภายนอกร่างกายที่มีการกรองส่วนของเสียออกจากเลือด ซึ่งวิธีนี้ทดแทนการทำงานของไตได้เพียง 13 เปอร์เซ็นของการทำงานจริงของไต ผลของการรักษาด้วยการฟอกเลือดนี้มีผู้ป่วยเพียง 35 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีอายุมากกว่า 5 ปี

จำนวนของผู้บริจาคไตมีอย่างจำกัดไม่เพียงพอกับผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนถ่ายไตใหม่ ทำให้ผู้ป่วยต้องรอเป็นเวลานาน โอกาสที่จะเสียชีวิตก่อนมีสูงและมีค่าใช้จ่ายสูงระหว่างการทำการรักษาตัว ไตเทียมชนิดฝั่งในร่างกายจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางเข้ามาทำการฟอกไตทุกๆสัปดาห์ และไตเทียมชนิดฝั่งในร่างกายยังสามารถทำการฟอกเลือดได้ตลอดเวลา เป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมาก

ไตเทียมชนิดฝั่งในร่างกายใช้ระบบ Hemofilter เพื่อกรองสารพิษในเลือดออก ซึ่งเป็นการพัฒนาด้วยวิศวกรรมเนื้อเยื่อ สร้างเซลล์ท่อไตเพื่อให้มาทำหน้าที่เหมือนเซลล์ไตที่ปกติ โดยอาศัยแรงดันเลือดในร่างกายเป็นปั๊มขับดันให้เลือดไหลผ่านท่อกรอง โดยไม่จำเป็นต้องมีปั๊มที่ใช้พลังงานไฟฟ้าภายใน

โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความพยายามของ UCSF ที่นำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในห้องทดลองให้นำมาใช้จริงในทางคลินิก

ในเฟสแรกของโครงการได้สำเร็จลงไปแล้ว ตอนนี้ได้เร่งพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงเพื่อให้พอเหมาะกับร่างกาย และจะเริ่มนำไปทดสอบในสัตว์ทดลองในเฟสที่สองซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน ทีมวิจัยมีความพยายามทำงานอย่างหนักเพื่อให้อุปกรณ์นี้พร้อมใช้จริงในมนุษย์ ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทั้งเอกชนและรัฐบาล

นับว่าเป็นอีกหนึ่งความพยายามของนักวิทยาศาตร์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยโรคไต

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.sciencedaily.com/releases/2010/09/100902161253.htm

sarapukhttp://www.amphur.in.th
คนที่อยากเห็น Biomedical Engineering ของประเทศไทย พัฒนาก้าวไกล

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.