การตอบสนองต่อวัคซีนขึ้นกับเพศของเรา

, , Leave a comment

ความแตกต่างทางชีวภาพระหว่างเพศเป็นตัวบ่งชี้อย่างมีนัยสำคัญต่อการตอบสนองต่อวัคซีน อ้างอิงจากนักวิจัยของสถาบันสุขภาพจอห์น ฮอปคินส์ บลูมเบิร์ก (Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health) เปิดเผยผลการทดลองวัคซีนของเด็กและผู้ใหญ่จำนวนมากและพบว่าเพศของคนไข้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะคาดการณ์ถึงประสิทธิภาพในการจัดการโรคได้

“เพศมีผลอัตราและความรุนแรงของผลข้างเคียงที่จะเกิดจากการให้วัคซีน รวมถึงการเป็นไข้ และอาการอักเสบ” ดร. ซาบรา ไคลน์ แห่ง Bloomberg School’s W. Harry Feinstone Department of Molecular Microbiology and Immunology กล่าวไว้ “อ้างอิงจากข้อเท็จจริงที่ผู้หญิงแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองที่มีความแข็งแรงต่อการให้วัคซีนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย ในบางราย ผู้หญิงต้องการวัคซีนในปริมาณที่น้อยกว่าเพื่อจะให้ผลแบบเดียวกับผู้ชาย และการตั้งครรภ์ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเพศหญิงตอบสนองต่อวัคซีนต่างจากเพศชาย”

นักวิจัยชี้ให้เห็นว่างานเขียนเกี่ยวกับวัคซีนหลายๆ ชนิด เช่นเกี่ยวกับไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคคางทูม เป็นต้น มีการระบุไว้ถึงความแตกต่างในการตอบสนองระหว่างหญิงกับชาย พวกเขาได้ทำการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีผลต่อการตอบสนองต่อวัคซีน และนักวิจัยก็พบว่าข้อมูลดังกล่าวสนับสนุนในเรื่องบทบาทของเพศต่อการให้วัคซีน

“การเข้าใจความแตกต่างทางชีวภาพระหว่างชายและหญิงเกี่ยวกับวัคซีนนำไปสู่การต่อยอดของวัคซีนไข้หวัด H1N1 ที่ออกมาเมื่อต้นปี 2010 ในการทบทวนบทควาต่างๆ แล้ว เราพบว่าผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรงมักจะสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายหลังได้รับวัคซีนแล้ว” กล่าวโดย ดร. แอนดรูว์ เปโกส รองศาสตราจารย์จาก Bloomberg School’s W. Harry Feinstone Department of Molecular Microbiology and Immunology เช่นเดียวกับ ดร.ไคลน์

“การเข้าใจความเหมาะสมของผลของเพศและการตั้งครรภ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันเปลี่ยนกลยุทธ์ที่สาธารณสุขใช้ นั่นทำให้มีการเริ่มการให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมทั้งเรื่องเวลาและปริมาณยาที่ให้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนจำนวนมากที่สุดได้รับภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม” ดร.ไคลน์เพิ่มเติม

ที่มา: https://www.sciencedaily.com/releases/2010/05/100512164337.htm

รูปภาพ: https://rickthegreat.files.wordpress.com/

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.