รีวิว ACCU-CHEK Performa เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด

, , 91 Comments

ส่วนใหญ่แล้วในเว็บต่างๆ นิยมมีการรีวิว มือถือ คอมพิวเตอร์ โปรแกรม กล้อง ฯลฯ ในเมื่อเว็บเราเกี่ยวกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์ เมื่อเรามีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็อยากจะรีวิวบ้าง คงเป็นเว็บแรกๆมั้งที่มีการรีวิวอุปกรณ์ประเภทนี้ เพราะยุคสมัยนี้เหมือนอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ง่าย สะดวก และไม่ได้อาศัยความเชียวชาญมากนักในการใช้ คนไข้สามารถใช้ได้เองโดยไม่ต้องพึ่งหมอค่อยดูข้างๆเวลาใช้งาน

ในครั้งนี้เราจะรีวิวเครื่อง ACCU-CHEK Performa เครื่องตรวจน้ำตาล มีขายในไทยมานานสักพักใหญ่ๆแล้ว ในตลาดมีขายเครื่องในลักษณะนี้อยู่ราว 3-4 ยี่ห้อ ผมเลือกซื้อเครื่องนี้มาเพราะคุ้นเคยกับการใช้งานมาก่อนหน้านี้แล้ว เครื่องนี้ซื้อมาในราคา 2,300 บาท

กล่อง ACCU-CHEK

อันที่จริงเครื่องนี้ซื้อมาตอนต้นเดือนธันวาคม 53 ตอนนี้ก็ได้เกือบเดือนแล้ว ตอนแกะกล่องครั้งแรกไม่ได้ถ่ายเก็บไว้ แต่สภาพยังดีอยู่ใช้ไปครั้งเดียว ตอนกลับบ้านต่างจังหวัด เอาไปตรวจให้พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ แถวบ้าน

มาดูว่าภายในกล่องมีอะไรบ้าง

แกะกล่อง ACCU-CHEK

ในกล่องมีของต่างๆดังนี้

เครื่อง ACCU-CHECK Performa, ปากกาเจาะนิ้ว, ซองใส่เครื่อง, strip + เข็ม 10 ชุด, ซีดีคู่มือ, สมุดบันทึกสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน, คู่มือหลากหลายภาษาอีกปึกใหญ่ และมี strip อีกกล่องหนึ่ง 50 test ที่ต้องซื้อเข็มเจาะเพิ่มอีกต่างหาก ราคาเข็ม 3 บาท/อัน

มาดูอุปกรณ์ทีละอันกันครับ ตอนท้ายจะได้สาธิตการใช้งานให้ดูด้วย

ปากกาเจาะนิ้ว

ปากกาเจาะเลือด รุ่น Soft Clix ใช้กับเข็มรุ่น Soft Clix Lancet มีหัวมาให้สองแบบ แบบใสโค้งตามรูปนิ้ว กับแบบธรรมดา

Soft Clix

ใส่หัวปากกา แบบใสให้ดู กดลงไปที่นิ้วแล้วจะเข้ารูปพอดี แต่ผมไม่ได้ใช้อันนี้เพราะไม่ค่อยถนัด

หัวของ Soft Clix

ใช้แบบนี้เป็นหลัก

ส่วนต่อมาคือเครื่อง ACCU-CHEK Performa

ACCU-CHEK Performa

Specification ของ ACCU-CHEK Performa มีดังนี้

  • แบตหนึ่งก้อนใช้งานได้ราว 2,000 test
  • ใช้เวลาในการอ่าน 5 วินาที
  • ใช้งานได้ในอุณหภูมิ 6°C ถึง 44°C
  • การเก็บรักษาเครื่อง:
    25°C ถึง +70°C ไม่ใส่แบตเตอรี่
    -10°C ถึง +50°C ใส่แบตเตอรี่
  • ทนความชื่น 10 ถึง 90%
  • เก็บบันทึกข้อมูลได้ 500 ค่า ตามวันเวลา
  • ขนาด 93 x 52 x 22 mm (L x W x H)
  • น้ำหนักขณะมีแบตเตอรี่ 62.0 g (2.2 oz)
  • ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อดาวน์โหลดข้อมูลผ่านทาง Infrared (IR)
  • เป็นการตรวจวัดอาศัยหลักการ Electrochemical
  • ใช้เลือดในการตรวจวัด <0.6 µL
  • คำนวณค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาล ในรอบ 7, 14 วัน หรือ 30 วัน ให้ได้
  • ตรวจสอบ strips และไม่อ่าน strips ที่หมดอายุ ดูเพิ่มเติมได้ตามที่มา

ข้อมูลจาก https://www.accu-chek.com.sg

แบตเตอรี่ของเครื่อง

เป็นถ่านก้อนกลมขนาด 3 โวลต์ หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป

เริ่มสาธิตการใช้งาน ผมตรวจแบบ Fasting Blood Sugar (FBS) คือมีการอดอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

ปุ่มเปิดเครื่องอยู่ด้านบนทางขวา การเปิดเครื่องครั้งแรก ระบบจะให้ตั้งวันเวลา ก็ตั้งให้ตรงตามวันเวลาให้ถูกต้อง ขอข้ามส่วนนี้ไปเลยนะครับ

  1. ตอนแรกอยากให้เตรียมเข็ม แอลกอฮอล์ สำลี ให้พร้อมก่อน

    Alcohol 70% สำลี
  2. วิธีการใส่เข็มในปากกาเจาะนิ้ว
    ขั้นตอนการใส่เข็ม

    วิธีการใส่เข็มก็ง่าย ดึงปลอกสวมหัวออกออกก่อน มีร่องให้เสียบ Lancet ลงไป เสียบให้สุด จากนั้นบิดหัวเข็มออก เสียบปลอกหัวปากกาเข้าไปดันเข้าไปจนได้เสียงล็อกคลิ๊ก หมุนปรับระดับความลึกของการเจาะ ตามคำแนะนำ ผู้หญิงควรใช้ระดับ 1 ผู้ชายใช้ระดับ 2 ตอนผมใช้กับลุงป้า น้า อา ผู้เฒ่าผู้แก่ ที่บ้านเขาทำงาน ทำไร่ ทำนา นิ้วเขาด้านและหนา ระดับ 2 หรือ 3 ไม่ระคายผิวนิ้วเลย จึงต้องใช้ระดับ 4 ขึ้น

    กดด้านบนเพื่อเตรียมเจาะ

    กดด้านบนของปากกาลงมาจนสุด เพื่อเตรียมเจาะ ให้ปุ่มด้านข้างเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

  3. ขั้นตอนเตรียมเครื่อง ในกล่อง Strip แผ่นตรวจ จะมีการ์ต Code ของกล่องนั้นอยู่ ให้เช็คดูว่าตัวเลขบนแผ่นโค้ดตรงกับกล่องหรือไม่ แล้วจึงเสียบเข้าไปในเครื่องทางด้านข้างของเครื่องก่อนใช้งาน
    แผ่นการ์ดโค้ด ที่มากับ Strip ทุกกล่อง

    code แต่ละกล่องจะไม่เหมือนกัน

    ACCU-CHEK Performa code

    เสียบการ์ดลงไปให้สนิท

  4. นำ strip จากกล่อง ออกมา แล้วเสียบด้านที่เป็นขั้วโลหะ เข้าไปในเครื่อง เครื่องจะแสดงตัวเลขโค้ดขึ้นมาให้ดูอีกครั้ง ว่าเป็นตัวเดียวกันกับที่อยู่บนกล่องหรือไม่
    เสียบด้านขั่วโลหะเข้าไปในเครื่อง

    เสียบ strip แผ่นที่จะตรวจเข้าไปให้สุด แล้วเครื่องติดขึ้นมาเอง เหมือนกับใช้แผ่น Strip เป็นสวิตท์ตัวเปิดเครื่อง

    โค้ดจะแสดงอีกครั้ง

    ดูอีกครั้งว่า โค้ดตรงกับที่อยู่บนกล่องหรือไม่

  5. เลือกนิ้วที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน ผิวจะบางเจาะง่าย ใช้แอลกอฮอล์เช็ดที่ปลายนิ้ว รอสักพักให้แอลกอฮอล์ที่เช็ดแห็งก่อน จากนั้นเอาปากกาที่เตรียมไว้จากข้อ 2 มาเจาะด้านข้างนิ้ว จะได้ไม่เจ็บ และเวลาใช้นิ้วไปทำงานต่อจะได้ไม่โดนแผล
    เจาะนิ้วทางด้านข้าง

    กดปลายปากกาให้ติดสนิทกับนิ้ว บีบปลายมือให้ตึงเล็กน้อย แล้วกดปุ่มสีเหลือง ข้อดีของการเจาะแบบนี้คือไม่เสียวมาก เพราะไม่เห็นเข็มตอนเจาะ รูเล็ก เจ็บน้อย (ผมแทบไม่รู้สึกเลยตอนเจาะตัวเอง แต่จะเสียวๆนิดๆ ตอนกดเพราะตัวเองรู้ตัวว่าจะกดแล้ว)

  6. เมื่อเจาะเลือดแล้ว บีบเบาๆเลือดก็ไหลออกมา ใช้สำลีเช็ดเลือดหยดแรกทิ้งไปก่อนเพื่อลดสารรบกวนที่ปนมาจากการไหลครั้งแรก (เหมือนเป็นการล้างท่อทิ้งไปก่อน) จากนั้นบีบเบาๆอีกครั้งให้เลือดไหลออกมา จากนั้นนำเลือดไปแตะเบาๆบน strip แตะด้านข้างนะครับ ไม่ใช่ด้านบน
    นิ้วที่โดนเจาะ

    ใช้เลือดเพียงเล็กน้อย <6 ไมโครลิตร

    แต่ด้านข้าง ด้านหน้า ไม่ใช่หยดลงด้านบน

    แตะเบาๆ เลือดจะไหลเข้าไปเอง ไม่ใช่หยดด้านบน

    เลือดไหลเข้าไปแล้ว

    เลือดไหลเข้าเองตามแรงตึงผิวของเลือด จากนั้นก็รออ่านผล ใช้สำลีสะอาดเช็ดแผลให้สะอาด

  7. รอประมาณ 5 วินาที ผลการอ่านค่าน้ำตาลในเลือดก็ปรากฏขึ้นมา
    ผลระดับน้ำตาล

    อ่านค่าได้ 90 mg/dL ค่าปกติ 74-106 mg/dL

  8. ดึง strip ออกจากเครื่อง ดันตรงปลายปากกาเบาๆ เข็มก็จะหลุดออกอย่างง่ายดาย ทิ้งในภาชนะที่ปลอดภัย ผมใช้ขวดพลาสติก เทแอลกอฮอร์ลงไปนิดหน่อยพอให้ท่วม ถ้าเต็มแล้วก็เอาไปทิ้งในที่ที่เหมาะสม อย่าเอาไปทิ้งในถังขยะทั่วไปเด็ดขาด อาจจะเป็นอันตรายต่อคนอื่น ตอนใช้ที่บ้านต่างจังหวัด ผมใส่ขวดพลาสติก แล้วก็เอาไปฝากให้อนามัยที่บ้าน เขาเอาจัดการต่อตามวิธีปกติของเขาครับ

    ขวดเก็บเข็มที่ใช้แล้ว

สรุปด้วยรวมของเครื่อง ACCU-CHEK Performa เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย เหมาะกับคนที่เป็นเบาหวานที่ต้องการ monitor ระดับน้ำตาลตัวเองอย่าสม่ำเสมอ ราคาเครื่องไม่แพงแต่ราคา Strip แพง คือ 500 บาท/25 test หรือ Strip ละ 20 บาท + เข็มอัน 3 บาท  (แต่ซื้อผ่านโรงพยาบาลถูกกว่านี้นะ) ยังไม่เคยลองโหลดข้อมูลจากเครื่องลงคอมพิวเตอร์ และการคำนวณค่าเฉลี่ยนรายสัปดาห์ 14 วัน หรือรายเดือน จึงไม่รู้ว่าทำงานได้ดีแค่ไหน

ข้อดีอีกอย่างคือมีประกันตลอดอายุการใช้งาน ทราบจากเพื่อนว่าโรงพยาบาลต่างจังหวัดที่มีคนไข้น้อย ใช้เครื่องนี้เป็นหลักในการตรวจคนไข้เลย ด้วยเพราะการตั้งเครื่อง automate ขนาดใหญ่ไม่คุ้มทุน

โดยรวมเอา ACCU-CHEK Performa มาเป็นอาวุธประจำกายนักเทคนิคการแพทย์อย่างเราถือว่าโอเคมาก

 

91 Responses

  1. Atchareeya

    7 มกราคม 2011 10:01

    รบกวนถามค่ะเครื่องละ 2300 ซื้อได้ที่ไหนคะ
    ต้องการซื้อ 1 เครื่อง ตอนนี้หาทางเว็บ ส่วนใหญ่ราคาเครื่องละ 2400 บาทขึ้นไปค่ะ
    ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะคะ

    ตอบกลับ
  2. Krittaya Borsuwun

    24 เมษายน 2011 3:47

    .ใช้ง่ายดีตะ่ แผ้นสำหรับตรวจเสียง่ายไปหน่อย แต่เมื่อส่งไปเช็คที่บริษัท ได้รับการบริการเปลี่ยนให้
    ขอบคุณที่ดูแลลูกค้า ขอบคุณนะคะ

    ตอบกลับ
  3. Nbaht

    24 สิงหาคม 2011 3:47

    สามารถซื้อได้ที่ Web นี้เลยครับhttp://www.pantown.com/board.php?id=25167&area=3&name=board1&topic=8&action=viewเว็ปอันดับ 1 ของ google หรือ Serch ว่า เครื่องตรวจน้ำตาล

    ตอบกลับ
  4. sarapuk

    24 สิงหาคม 2011 3:56

    แนะนำว่าซื้อจากร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ที่ไหนก็ได้ เช่น แถวอนุเสาวรีย์, โรงพยาบาลฯ ดีกว่านะครับ จะได้คำแนะนำการใช้ และของแถมด้วย ราคาไม่ต่างกันบางทีอาจจะถูกกว่าด้วยซ้ำ

    ตอบกลับ
    • หมูอ้วน

      1 กันยายน 2011 4:17

      ลองโทรไปที่ call center 02-791-2222
      ส่งเครื่องไปซ่อม ที่ บ.โรช ไดแอก โน สติกส์ ปากซอยพหลดยธิน 19 ตรงข้ามแดนเนรมิต

      ตอบกลับ
    • Guyers

      11 ธันวาคม 2012 16:39

      ผมส่งที่ Callcenter ครับ ผมเห็นเบอร์ที่หลังเครื่อง 027912222 แล้วกด 0 รอคุยกับเจ้าหน้าที่เค้าครับ

      ตอบกลับ
  5. Jayyoue

    24 เมษายน 2012 12:01

    กำลังศึกษาข้อมูลอยู่ มาเจอรีวิวนี้ แนะนำการใช้งานได้ละเอียดมากเลยค่ะ พอดีน้องสาวตั้งครรภ์ แล้วมีภาวะเสี่ยงเป็นเบาหวาน คุณหมอแนะนำให้มาตรวจเองที่บ้านค่ะ ขอบคุณสำหรับรีวิวดีๆค่ะ

    ตอบกลับ
  6. Goldhimm

    2 สิงหาคม 2012 14:56

    เยี่ยมมากเลยครับ กำลังซื้อแต่ติดปัญหาเรื่องการใช้งาน …… กระจ่างเลยครับ ..ขอบคุณครับที่แนะนำเรื่องดี ๆ 

    ตอบกลับ
  7. Pa-koi

    10 ตุลาคม 2012 19:45

    เพิ่งได้เครื่องมาวันนี้จากพี่ชายใช้ไม่เป็น มาอ่านบทความนี้ ทะลุปุโปร่งสมองเลยค่ะ พรุ่งนี้จะเจาะให้คุณแม่

    ตอบกลับ
  8. Pinit

    28 ตุลาคม 2012 21:22

    ซื้อมาแล้ว แถวศิริราช 2600 รุ่นแถมนาฬิกา
    และซื้อแย่นตรวจเพิ่มอีก 50 แผ่นแถมเข็ม 25 อันด้วย

    ตอบกลับ
  9. Guyers

    11 ธันวาคม 2012 16:36

    ใช้ดีมากครับ ลองไปเจาะเทียบตอนไปตรวจหมอที่ รพ. ค่าใกล้เคียงเลย ขอบคุณสำหรับการรีวิวครับ

    ตอบกลับ
  10. Pakob_wong

    22 ธันวาคม 2012 8:10

    เปลี่ยนถ่านใหม่(แบตเตอรรี่)แล้วขึ้น E E E  อย่างเดียวไม่แสดงอะไรทั้งนั้น จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร

    ตอบกลับ
  11. Luyman

    22 มกราคม 2013 15:58

    ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ดีๆตัวผมเช๊คดูมีภาวะเสี่ยง(ตรวจหลังทานอาหาร174mg/dl)กำลังสืบค้นหาเครื่องตรวจดีๆไว้เช๊คเองอยู่พอดี…ได้ข้อมูลที่เยี่ยมมากครับ ตอนนี้โอนเงินสั่งซื้อแล้ว(22/1/56) อีก2วันได้ของตัวแทนชื่อคุณยุ้ยน่ารักมากเลยอธิบาย2ยี่ห้อเด่นๆให้เราทราบและตัดสินใจ(Accu-Chek กับ Terumo…การใช้งานใกล้เคียงกัน)สรุปที่Accu-Chekอาจจะแพงกว่าบ้างแต่ความชัวร์ดีกว่า…!

    ตอบกลับ
    • sarapuk

      22 มกราคม 2013 16:05

      การตรวจหลังทานอาหารจะวิเคราะห์ผลไม่ได้นะครับ หลังทานอาหารระดับน้ำตาลจะสูงขึ้นอยู่แล้ว แนะนำว่าต้องเตรียมตัวก่อนตรวจ โดยอดอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง นะครับ (คิดว่าคุณ Luyman น่าจะรู้ข้อมูลนี้แล้ว)

      ตอบกลับ
  12. Baibell_bi

    17 กุมภาพันธ์ 2013 19:24

    ขอบคุนมากๆๆๆเลยค่ะ กะลังจะซื้อให้ผู้ใหญ่ที่บ้านแต่งงๆอยู่ ไม่เคยเจอรีวิวเรื่องนี้ที่ไหนจริงๆค่ะ
    สงสัยเพิ่มเติม ว่าเห็นเขามีขายแบบที่ตรวจได้ทั้งน้ำตาล คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอราล ในครั้งเดียว. เครื่องแบบนี้ตรวจไขมันได้แม่นยำไหมคะ. และจำเป็นต้องตรวจบ่อย. พอๆกะที่ตรวจน้ำตาลไหมคะ. กำลังตัดสินอยู่ เพราะเครื่องแพงมาก ตั้ง8,000กว่าแน่ะ

    ขอบคุนมากๆนะคะ

    ตอบกลับ
  13. Adam_eve29

    14 มีนาคม 2013 19:56

    อยากทราบว่าเครื่องมีปัญหา คือ พอเปิดเครื่อง มันขึ้น E-5 แล้วกะพริบคำว่า code exp ต้องทำอย่างไรคะ 

    ตอบกลับ
    • sarapuk

      11 สิงหาคม 2013 20:14

      แสดงว่าแถบตรวจอันนั้นหมดอายุแล้วครับ ต้องซื้อชุดแถบใหม่ครับ ก่อนซื้ออย่าลืมเช็ควันหมดอายุด้วยนะครับ

      ตอบกลับ
  14. mook

    1 เมษายน 2013 16:54

    เครื่องมีปัญหาค่ะ ขึ้น E-5 code exp ทั้งที่ code ยังไม่หมดอายุเลยค่ะ ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรบ้างคะ

    ตอบกลับ
    • sarapuk

      11 สิงหาคม 2013 20:17

      ตรวจดูว่าตัวเลขที่โค๊ดคีย์ตรงกับตัวเลขข้างขวด และเวลากับวันที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้ายังมีปัญหาลองเปลี่ยนแถบตรวจชุดใหม่ ถ้ายังมีปัญหาอยู่ติดต่อศูนย์ที่เบอร์ 02-791-2222 เลยครับ

      ตอบกลับ
  15. nunglaksi

    13 กันยายน 2013 13:39

    ไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลบ้างไหมครับว่าเครื่อง Accu-Check นี้ มีความถูกต้องและแม่นยำของการวิเคราะห์มากน้อยเท่าไรเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานที่ยอมรับกัน และเครื่องนี้ต้องมีการส่งไป calibrate เป็นประจำไหม? ผมไม่คิดว่ามันจะใช้ได้ตลอดชีพโดยที่ไม่ต้อง calibrate เลย?

    คำถามนี้เกิดจากคุณพ่อที่ใช้งานประจำบอกว่าค่าที่อ่านได้จาก Acc-Check นี้ต้องลบ 20 เมื่อนำไปเทียบกับค่าที่รายงานผลแลปจากโรงพยาบาลเสมอ

    ตอบกลับ
    • kosol

      9 ธันวาคม 2013 16:45

      สาเหตุที่ค่าการตรวจน้ำตาลในเลือดผิดพลาด เป็นปัญหาทางเทคนิคที่พบได้เป็็นประจำ ส่วนมากแล้วคิดว่าเครื่องเสียมีปัญหา แต่ปัญหาที่แท้จริงแล้วก็คือ สตริปแถบตรวจเลือด ถูกอากาศนานเกินไป คือเปิดขวดบรรจุสตริปแถบตรวจเลือดแล้ว เปิดนานเกินไป ออกซิเจนในอากาศไปทำปฏิกริยากับแถบตรวจเลือด ซึ่งผู้สูงอายุมากมายไม่ทราบเรื่องนี้ คือเมื่อเปิดใช้แล้วเอาแถบตรวจน้ำตาลออกมาแล้ว ต้องปิดขวดบรรจุแถบน้ำตาลทันที อย่าเปิดทิ้งไว้นาน ๆ เพราะแถบตรวจวัดน้ำตาลจะมีค่าผิดเพี้ยนได้

      และนี่ก็คือสาเหตุที่แท้จริง ของปัญหาค่าผิดพลาดที่ได้จากการตรวจน้ำตาลในเลือด

      ตอบกลับ
  16. nunglaksi

    16 กันยายน 2013 10:07

    ขอถามเป็นความรู้ครับว่าเครื่อง Accu Check glucose meter แบบนี้มีความไว ความถูกต้องแม่นยำ มากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับวิธีการทดสอบทางโรงพยาบาล (น่าจะใช้ serum?)

    เนื่องจากคุณพ่อบ่นให้ฟังว่าค่าที่อ่านได้จาก glucose meter นี้จะต่ำหรือสูงกว่าค่าผลจากแลป รพ เสมอ ถ้าเครื่องนี้มีความแม่นยำสูงมากกว่า 95% เราก็อาจอนุโลมให้ได้โดยอาศัยค่าเก่าๆที่เก็บไว้มาเป็นตัว บวก หรือ ลบ เมื่อเทียบกับค่าจาก รพ

    อีกคำถามครับว่าเราต้องส่ง Accu Check ไป calibrate เป็นประจำไหมเท่าที่ืราบการวัดด้วยเครื่องนี้มันเป็นการใช้ค่าการนำไฟฟ้าถ้าจำไม่ผิดฉะนั้นน่าจะมีการคลาดเคลื่อนไปจากเดิมได้

    ตอบกลับ
    • sarapuk

      16 กันยายน 2013 10:50

      วิธีที่ตรวจในโรงพยาบาลมีความถูกต้องแม่นยำสูงกว่าแน่นอนครับ โดยปกติเครื่องมือทางการแพทย์ที่จะสามารถผ่านการทดสอบจนถึงขั้นวางตลาดได้ต้องมีความผิดพลาดไม่เกิน 5% นะครับ(ถูกต้อง 95%) แต่ก็มีความผิดพลาดอื่นๆที่เกิดขึ้นได้ครับ ควรมีการส่ง calibrate ครับ ติดต่อเบอร์ศูนได้ เบอร์อยู่ในคอมเม้นท์มีครับ

      ตอบกลับ
  17. kosol

    9 ธันวาคม 2013 16:16

    แ สตริปแถบตรวจวัดน้ำตาล performa กล่องละ 25 ชิ้น ซื้อตามร้านขายยาราคามาตราฐาน กล่องละ 400 บาท ถ้าซื้อตาม วัตสัน หรือ บู๊ท ราคา 535 บาท

    ตอบกลับ
  18. kosol

    9 ธันวาคม 2013 16:26

    Errors

    Error E1 – แถบตรวจวัดน้ำตาลชำรุดหรือเสียหาย ให้เปลี่ยนแผ่นใหม่.
    Error E2- คีย์การ์ดไม่ถูกต้อง ปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่
    Error E3 – น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป
    Error E4 –จำนวนเลือดไม่เพียงพอที่จะทดสอบ
    Error E5 – คีย์การ์ด หมดอายุ.
    Error E6 – แถบตรวจน้ำตาล มีการตรวจซ้ำ ให้เปลี่ยนใหม่
    Error E7 – เครื่องทำงานผิดพลาด เอาแบตเตอรี่ออก 20 วินาที แล้วค่อยใส่ใหม่
    Error E8 – อุณหภูมิไม่เหมาะสมจะทำการงานทดสอบ
    Error E9 – แบตเตอรี่อ่อน เปลี่ยนใหม่
    Error E10 วันเวลาไม่ถูกต้อง ตั้งวันเวลาใหม่

    ตอบกลับ
  19. paul

    16 มีนาคม 2015 18:52

    เครื่องมีปัญหามากไปนะ เบื่อๆๆๆ เดี๋ยวก้อ ขึ้น E 7, E6, E1 วันนี้ เจาะเลือดจนพรุน ใช้แผ่นตรวจไป 7 ยังอ่านค่าไม่ได้เลย
    เปลี่ยนถ่านใหม่เลย ก้อแล้ว ตกลง เครื่องนี่ จะใช้ได้มั๊ยคะ เพิ่งตรวจมา 1 วัน 2 ครั้ง วันนี้ 1 รวมเป็น 3 ครั้ง ครั้ง 2 แผ่น แต่ รอบนี้ หมดไป 7 แผ่น ขึ้น จะครบ ทุก E แระ เบื่อมากๆๆๆค่ะ

    ตอบกลับ
  20. Beee

    3 กุมภาพันธ์ 2016 1:17

    หลายคนมีปัญหาเหมือนกันเลยค่ะ เรื่องแผ่นตรวจขึน E5 ว่าหมดอายุ ทั้งที่ซื้อแผ่นตรวจมาใหม่ก็แล้ว กล่องใหม่ไม่มีแผ่นโค๊ดคีย์แถมมาให้ด้วย
    สรุปคือ ขอนำข้อมูลที่หาได้มาแปะ

    แผ่นตรวจน้ำตาล Accu-Chek Performa ใช้คู่กับเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดรุ่น Accu-Chek Performa
     
    แผ่นตรวจนี้เป็นแผ่นตรวจ accu-chek performa รุ่นใหม่ สามารถใช้ได้กับเครื่องตรวจน้ำตาล accu-chek performa ได้ทั้งรุ่นเก่า(สีแดง) และรุ่นใหม่ (สีเทา-ดำ) โดยในกล่องจะไม่มี โค๊ดชิพมาให้ เนื่องจากเครื่องรุ่นใหม่ไม่ต้องใช้ชิพแล้ว เพราะมีการใส่โค้ดชิพมาจากตัวเครื่องจากโรงงานแล้ว แต่สามารถนำแผ่นตรวจไปใช้กับเครื่องรุ่นเดิม (สีแดง) ได้ โดยใช้โค้ดชิพอันเดิมอันใดก็ได้เสียบไว้ในเครื่อง ลูกค้าท่านใดไม่มีชิพโค๊ดสามารถโทรขอได้ที่ศูนย์ accu-chek performa เบอร์ 02-791-2222 ได้เลยค่

    สรุปว่ารุ่นใหม่ แผ่นโค๊ดคีย์เป็นสีดำ รหัสเดียวทั่งโลกคือ 222 ไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นโค๊ดคีย์อีกแล้ว ถ้าใครเป็นแผ่นสีขาวอยู่โทรติดต่อบริษัทขอแผ่นใหม่ได้เลยจ้า 02-7912222

    ตอบกลับ
  21. บรรลือศักดิ์ พวงจิตร

    25 มิถุนายน 2018 7:22

    เช้านี้ ผมทดลอง ตรวจเลือดที่บ้านด้วยเครื่อง Accu-chek เจาะครั้งแรก ขึ้นคำว่า Test error Retest with new strip.ผมเลยคิดว่าแผ่นเสียรึป่าว เลยเจาะเพิ่มอีกสามครั้ง และได้ผลแบบเดิม พอลองเจาะให้แม่ น้ำตาล 52 มาเจาะของผม ขึ้นเหมือนเดิม พอเจาะให้แฟน ขึ้น 80 เลยสงสัยอยากขอคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นครับ

    ตอบกลับ
  22. ศิริลักษณ์

    8 สิงหาคม 2018 17:40

    สาเหตุที่เครื่องไม่อ่านค่าเพราะอะไรคะเปลี่ยนไปห้าเเผ่นเเล้วก็กระพริบอยู่เเต่เครื่องไม่ยอมอ่านเครื่องใหม่ค่ะใช้ยังไม่ถึงเดือนเจาะสามครั้งเปลี่ยนเเผ่นห้าครั้งก็ยังไม่อ่านเลือดก็เต็มแทบรบกวนตอบด้วยค่ะ

    ตอบกลับ
  23. อายุวัฒนี

    15 ธันวาคม 2018 1:42

    ซื้อแผ่นตรวจมาใช้ลืมดูมาดูอีกทีหมดอายุไปเดือน 7 ปี 61 นี้ค่ะยังไม่ได้แกะออกจากกล่องเลย มีวิธีแก้ไขให้ใช้ได้คะเสียดายเงินค่ะ ช่วยตอบด้วยนะคะ

    ตอบกลับ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.