การทำ human genome นั้น มีปริมาณชุดข้อมูลของลำดับเบสมหาศาล(ราว 3 พันล้านคู่เบส) ปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ถูกประมวลผลด้วยซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานเพียงเครื่องเดียว ซึ่งมันไม่สามารถเชื่อมระหว่างข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์แต่ละคนได้ ในงาน TechCrunch Disrupt ณ วันที่ 28 กันยายน 2010 เว็บไซต์ SeqCentral ได้แก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการเปิดตัวศูนย์รวบรวมลำดับเบสของดีเอ็นเอจากนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับ human genome เพื่อเป็นฐานข้อมูล และทำการจับคู่เหมือนของชุดข้อมูล
SeqCentral จะเพิ่มประสิทธิภาพในการจับคู่เหมือนของลำดับเบสของดีเอ็นเอบน Cloud Computing หรือ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ การให้บริการจะเปิดให้นักวิทยาศาสตร์อัพโหลดข้อมูลลำดับเบสของดีเอ็นเอจากงานวิจัยของตัวเองขึ้น SeqCentral จากนั้นระบบจะจับคู่ข้อมูลนั้นกับฐานข้อมูลเดิมที่ได้รวบรวมจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้รู้ว่าชุดข้อมูลที่ได้มานั้น เป็นข้อมูลใหม่หรือเป็นข้อมูลที่มีการค้นพบแล้ว
ข้อมูลในขั้นเริ่มต้นในตอนนี้จะถูกรวบรวมจากฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ศูนย์วิจัย บริษัทที่ทำงานวิจัยด้านนี้
SeqCentral มีค่าบริการ $99(3,025 บาท) ต่อปี นอกจากจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นแล้ว ทางผู้ให้บริการยังมีเป้าหมายในการเชื่อมกลุ่มของสมาชิกที่ทำงานด้านพันธุกรรมเข้าด้วยกันอีกด้วย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานมากขึ้น
กลุ่มเป้าหมายของ SeqCentral คือกลุ่มนักวิทยาศาตร์ที่ทำงานเฉพาะทางด้านพันธุกรรม ซึ่งคาดว่ามีอยู่ราว 1 ล้านคน
ที่มา: https://techcrunch.com/2010/09/27/seqcentral-puts-dna-sequence-crunching-in-the-cloud
Leave a Reply