Surface plasmon resonance biosensor เป็นเทคนิคเชิงแสงที่ใช้ศึกษาการจับกันของโมเลกุลของสารสองชนิดโดยตรง โดยไม่ต้องติดฉลากสารที่ต้องการตรวจวัด และสามารถตรวจวัดได้แบบ real time โดยสารที่ใช้ตรวจจับ (ligand) จะถูกตรึงอยู่บนผิวของ sensor ซึ่งเป็นโลหะที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนพื้นผิว เมื่อสารที่ต้องการตรวจวัด (analyte) จับกับ ligand ที่ตรึงอยู่บนผิวของ sensor จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีหักเหของแสง (Refractive index) เมื่อแสงตกกระทบผิวของ sensor ทำให้มุมสะท้อนของแสงเปลี่ยนแปลงไป จึงสามารถตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างสารสองชนิดได้
คลิกเพื่อดูวิดีโอแสดงการทำงานของ Surface Plasmon Resonance Biosensor
เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ในการตรวจวัดโปรตีน สารพันธุกรรม (DNA หรือ RNA) คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และเซลล์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาตรวจหาการติดเชื้อ เช่น การตรวจหาเชื้อไวรัส และ แบคทีเรีย เป็นต้น
ข้อดีของวิธีนื้คือ สามารถตรวจวัดการจับกันของสารได้โดยตรง ไม่ต้องติดฉลากสารที่ต้องการตรวจวัด จึงลดขั้นตอนการตรวจวัดลง ทำให้ประหยัดเวลาในการตรวจวัด
Leave a Reply