ยา Tamoxifen และกลไกการออกฤทธิ์

, , Leave a comment

บทความโดย คุณอุทัยพร สิงห์คำอินทร์

ยา Tamoxifen

ยา Tamoxifen 

Tamoxifen ที่เข้าสู่ร่างกาย 50-80% จะถูกเมตาบอไลท์เป็น N-desmethyl tamoxifen ระดับยาในกระแสเลือดจะคงตัว (Steady state) หลังจากได้รับยาต่อเนื่องเป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ ยาส่วนใหญ่จะถูกขับออกทางอุจจาระอย่างช้าๆ และขับออกทางปัสสาวะเพียงเล็กน้อย

กลไกการออกฤทธิ์ของยาแสดงดังภาพ

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Tamoxifen

ยา Tamoxifen(TAM) ทั้งรูปเดิมและรูปเมทาบอไลท์จะออกฤทธิ์โดยไปแย่งที่กับ estrogen ในการจับกับ Cytoplasmic estrogen receptor(ER-alpha) ซึ่ง receptor ตัวนี้จะพบทั้งในเนื้อเยื่อของเต้านม, มดลูก, ช่องคลอด และเซลล์มะเร็งบางชนิด(เซลล์มะเร็งเต้านมของแต่ละคนจะมีปริมาณ receptor ตัวนี้ไม่เท่ากัน กรณีของแม่ receptor ตัวนี้ positive 80% จึงสามารถใช้ยาตัวนี้รักษาได้) เมื่อยาจับกับ receptor แล้วก็จะไปยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์มะเร็งทำให้เซลล์ตายในที่สุด (ด้วยการเกิด apoptosis)

แต่อย่างไรก็ตามเซลล์มะเร็งก็คงจะคล้ายๆกับ แบคทีเรีย เชื้อรา ที่ต้องมีการปรับตัวเองให้อยู่รอดได้ หลังจากที่ได้รับยา สำหรับกลไกการดื้อยา Tamoxifen ของ breast cancer cell แสดงในภาพดังนี้

Tamoxifen-resistant breast cancer cell

จากรูป กลไกการดื้อยาที่ว่าก็คือ เซลล์มะเร็งจะมีการสร้าง Ubiquitin ligase (CUEDC2) เพิ่มมากขึ้นไปจับกับ ยากับreceptor ที่จับกันอยู่ก่อนแล้ว และนำไปส่งให้ proteasome ทำลาย เพราะฉะนั้นยาจึงออกฤทธิ์ไม่ได้ตามกลไกปกติ มีรายงานว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยยาตัวนี้ จะเกิดการดื้อยาตามมา (กำหนดหมอนัดครั้งหน้า ต้องถามหมอเรื่องการดื้อยาและการตรวจการดื้อยาเสียหน่อยดีกว่า)

ข้อควรระวังจากการใช้ยา

  • ยาอาจมีผลต่อกระบวนการสร้างเม็ดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาทางด้านเลือด ควรได้รับการตรวจเป็นระยะๆ
  • ยาอาจมีผลทำให้ระดับ Lipoprotein ในเลือดสูงได้ ดังนั้นควรตรวจ Triglyceride และ Cholesterol เป็นระยะๆ เช่นเดียวกัน
  • สำหรับผู้ที่ยังไม่หมดประจะเดือน ยานี้จะมีผลทำให้รอบเดือนหยุด
  • ยานี้เสริมฤทธิ์กับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดด้วย ต้องปรับขนาดยาให้เหมาะสม

เผยแพร่ครั้งแรกที่ https://noobnim.in.th/tamoxifen-breast-cencer/

 

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.