รางวัลโนเบล สาขาเคมี ปี 2009 มอบให้
- Venkatraman Ramakrishnan
- Thomas A. Steitz
- Ada E. Yonath
ในผลงาน “การศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม”
ทั้ง 3 มีบทบาทสำคัญในการคิดค้นแบบจำลองของไรโบโซม ในระบบสามมิติ เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจไรโบโซมแต่ละตัวในระดับอะตอมมากยิ่งขึ้น ซึ่งแบบจำลองที่คิดค้นขึ้นถูกนำไปใช้ในการค้นหายาฆ่าเชื้อโรคแบบใหม่ (New Antibiotics) โดยไปสกัดกั้นการทำหน้าที่ของไรโบโซม เพราะเมื่อไรโบโซมไม่ทำงาน เชื้อโรคก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งช่วยชีวิตผู้คนได้มากมาย
ดาวน์โหลด Scientific Background on the Nobel Prize in Chemistry 2009
ไรโบโซม (Ribosome)
เป็นออร์แกเนลล์ที่สำคัญชนิดหนึ่ง พบทั้งในเซลล์ยูคาริโอต โปรคาริโอต มีลักษณะกลมขนาดเล็กมาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 150-250 อังสตรอม ประกอบด้วยโปรตีน และ rRNA ประมาณ 40% และ 60% ตามลำดับ ไรโบโซมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ไรโบโซมที่มีขนาดใหญ่จะมีค่าความเร็วในการตกตะกอนมากกว่า ไรโบโซมที่มี ขนาดเล็ก ค่าความเร็วในการตกตะกอนเรียกว่า Svedberg unit ใช้ตัวย่อ S ในไรโบโซมขนาดใหญ่มีค่า 80S ประกอบด้วยหน่วยย่อยขนาด 60S และ 40S ซึ่งพบในเซลล์พวกยูคาริโอต ไรโบโซมของเซลล์โปคาริโอต มีขนาดเล็กกว่าคือมี ขนาดเพียง 70S ประกอบด้วยหน่วยย่อย 50S และ 30S ไรโบโซมพบอยู่ตามไซโตพลาสซึม และในคลอโรพลาสและไมโตคอนเดรีย
ไรโบโซมแต่ละที่มีหน้าที่แตกต่างกันคือ ไรโบโซมที่อยู่บนเยื่อหุ้มเอนโดพลาสซึมจะสร้างโปรตีนที่ส่งออกนอกเซลล์ ได้แก่ เอนไซม์และฮอร์โมนต่าง ๆ ไรโบโซมที่อยู่บนเยื่อหุ้มนิวเคลียส เข้าใจกันว่า ทำหน้าที่สร้างโปรตีน ซึ่งใช้ในนิวเคลียส ส่วนไรโบโซมที่อยู่บนออร์แกเนลล์อื่นนั้นน่าจะทำหน้าที่สร้างโปรตีนสำหรับใช้ใน ออร์แกเนลล์นั้น ๆ
ข้อมูลอ้างอิง https://nobelprize.org , https://en.wikipedia.org/wiki/Ribosome
Leave a Reply