30 C
Bangkok
หน้าแรก Popular Medical Instrumentations ทีมวิจัยจาก University of California ประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องไตเทียมแบบสวมใส่ได้

ทีมวิจัยจาก University of California ประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องไตเทียมแบบสวมใส่ได้

เครื่องไตเทียมแบบสวมใส่ได้
เครื่องไตเทียมแบบสวมใส่ได้

ทีมวิจัยจาก University of California, Los Angeles ก็ประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องฟอกเลือดที่สามารถสวมใส่ได้ และเข้าสู่กระบวนการทดสอบในระดับคลินิกแล้วในอเมริกา

ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังต้องทำการฟอกเลือดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาฟอกประมาณ 2-4 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตลอดการฟอกเลือดจะต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ทำให้เสียเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นเป็นอย่างมาก เพราะเครื่องฟอกเลือดหรือไตเทียมในปัจจุบันนั้นมีขนาดใหญ่เคลื่อนย้ายลำบาก และมีอุปกรณ์ต่อพ่วกหลายอย่าง นักวิจัยทางด้านการแพทย์จึงมีความพยายามที่จะลดขนาดของเครื่องไตเทียมให้มีขนาดเล็กลง ให้ใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายได้ง่ายมากที่สุด และตอนนี้ทีมวิจัยจาก University of California, Los Angeles ก็ประสบความสำเร็จในการสร้างเครื่องฟอกเลือดที่สามารถสวมใส่ได้ และเข้าสู่กระบวนการทดสอบในระดับคลินิก ใช้จริงกับผู้ป่วยแล้วในอเมริกา

เครื่องไตเทียมแบบสวมใส่ได้ดังกล่าวถูกเรียกในชื่อ The Wearable Artificial Kidney (WAK) มีลักษณะเหมือนเข็มขัด มีอุปกรณ์คล้ายกับเครื่องฟอกเลือดในปัจจุบัน แต่มีการย่อส่วนต่างๆลงให้เล็กลง อีกส่วนที่สำคัญนั้นคือ เครื่องมีแบตเตอรี่และแหล่งจ่ายน้ำบริสุทธิ์ในตัวทำให้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจะแหล่งภายนอกและไม่ต้องต่อกับท่อน้ำจากภายนอก ทำให้เครื่องสามารถสวมใส่ได้และทำกิจกรรมอื่นได้ขณะที่ยังทำการฟอกเลือดอยู่ ทางทีมวิจัยนำเครื่องไตเทียมแบบสวมใส่ได้มาแสดงเป็นรุ่นที่มีน้ำหนักประมาณ 10 ปอนด์หรือ ราว 4.5 กิโลกรัม ทีมวิจัยเชื่อว่ายังสามารถพัฒนาให้เครื่องมีขนาดที่เล็กและเบากว่านี้ได้

Wearable Kidney
จากซ้าย Dr. Jonathan Himmelfarb, Dr. Victor Gura และ Dr. Larry Kessler นำเสนอเครื่องไตเทียมแบบสวมใส่ the Wearable Artificial Kidney.

โครงการ WAK เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการผลักดันจาก FDA ผ่านทางโครงการ Innovation Pathway เพื่อให้นวัฒนกรรมใหม่ๆทางด้านการแพทย์ไปถึงผู้ใช้ให้เร็วขึ้น ทำให้เครื่องถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ในขั้นตอนของการทดลองในผู้ป่วยจริงนั้น เครื่องไตเทียมจะทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน 16 คน ในศูนย์ UW Medical Center ที่ซีแอลเทิล, อเมริกา ซึ่งตลอดการใช้งานจะเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง และจะทำการทดสอบกับผู้ป่วยแต่ละคนนานอย่างน้อย 28 วัน

นับว่าเป็นข่าวดีที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้

ชมวิดีโอ Dr. Jonathan Himmelfarb หนึ่งในหัวหน้าทีมวิจัยนำเสนอเครื่องไตเทียมแบบสวมใส The Wearable Artificial Kidney

อ้างอิง: https://hsnewsbeat.uw.edu , https://www.medgadget.com

sarapukhttp://www.amphur.in.th
คนที่อยากเห็น Biomedical Engineering ของประเทศไทย พัฒนาก้าวไกล

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.