35.2 C
Bangkok
หน้าแรก Immunology ทำไมเราเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 จากแต่ละบริษัทไม่ได้?

ทำไมเราเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 จากแต่ละบริษัทไม่ได้?

ทำไมคุณไม่สามารถเปรียบเทียบวัคซีน Covid-19 ได้

เป็นบทความที่รวบรวมและเรียบเรียงขึ้นจากหลายแหล่งข้อมูล ในวิดีโอข้างต้นสรุปได้ค่อนข้างง่ายและชัดเจนสามารถดูจากวิดีโอก็ได้
____

ในสหรัฐอเมริกาวัคซีนโควิด-19 สองตัวแรกที่พร้อมใช้งานคือวัคซีนจาก Pfizer / BioNTech และ Moderna วัคซีนทั้งสองชนิดมี “อัตราประสิทธิภาพ”(efficacy rate) สูงมากประมาณ 95% แต่วัคซีนตัวที่สามที่นำมาใช้ในสหรัฐอเมริกาจาก Johnson & Johnson มีอัตราประสิทธิภาพต่ำกว่ามากเพียง 66% ทำให้ผู้ว่าการบางรัฐเลือกที่จะปฎิเสธการใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าสองวัคซีนแรก

ในสถานการณ์การระบาดในปัจจุบันที่ตัวเลขยังสูงมากๆ ตัวเลขอัตราประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญจริง ๆ หรือไม่? และเราเข้าใจตัวเลขที่ได้จากการทดสอบนี้หรือไม่?

สรุปอัตราประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 พอสังเขป (26 มีนาคม 2021)

Pfizer / BioNTech 94%
Moderna 95%
Johnson & Johnson 66%
Astra Zeneca 70% (วัคซีนที่ไทยนำเข้ามาฉีด)
Sinovac 50.38%-91.25% ขึ้นอยู่กับพื้นที่ทดสอบ (วัคซีนที่ไทยนำเข้ามาฉีด)
Sputnik V 91.4%
Novavax 89.3%

เมื่อดูตัวเลขเหล่านี้เปรียบเทียบกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะสรุปได้ว่าบางอันดีกว่าและบางอันแย่กว่ามาก จึงมีการตั้งคำถามว่าทำไมต้องใช้ตัวประสิทธิภาพ 50% ในเมื่อ 95% สูงกว่า? แต่เดี๋ยวก่อน! นั่นไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการทำความเข้าใจอัตราประสิทธิภาพของวัคซีนหรือแม้แต่ทำความเข้าใจว่าวัคซีนทำงานยังไง และผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกล่าวว่าหากคุณต้องการทราบว่าวัคซีนชนิดใดเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด ตัวเลขประสิทธิภาพไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุด

วัคซีนชนิดใดเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด ตัวเลขประสิทธิภาพไม่ใช่ตัวบ่งชี้ที่สำคัญที่สุด

เรามาทำความเข้าใจเป็นลำดับดังนี้

  • อัตราประสิทธิภาพของวัคซีนคำนวณจากการแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกได้วัคซีนหลอก อีกกลุ่มได้วัคซีนจริง เมื่อผ่านไปมีผู้ติดเชื้อไรวัสโควิด-19 จะถูกแยกว่าเป็นกลุ่มที่ได้วัคซีนหลอกหรือวัคซีนจริง จากนั้นจึงคำนวณประสิทธิภาพของวัคซีนจากกลุ่มตัวอย่าง
  • ยกตัวอย่างกรณีของ Pfizer/BioNTech ทดสอบกับคนประมาณ 43,000 คน เมื่อเวลาผ่านไป พบว่ามีคนติดไวรัสโควิด-19 170 คน จากนั้นกลับไปดูประวัติว่าใครได้รับการฉีดวัคซีนแบบไหนไป
    มาดูวิธีคำนวณจากจำนวณคนติดเชื้อไวรัสทั้งหมดเปรียบเทียบกัน
    ถ้าเทียบจำนวนคนที่ติดไวรัสและได้วัคซีนหลอกต่อคนที่ได้วัคซีนจริง ตามตัวเลขดังนี้
    85:85 = ประสิทธิภาพ 50% คือ คนติดเชื้อไวรัสเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอกและจริงเท่าๆกัน
    170:0 = ประสิทธิภาพ 100% คือ คนติดเชื้อไวรัสเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอกทั้งหมด หรือคนได้วัคซีนจริงไม่มีใครติดเลย
    0:170 = ประสิทธิภาพ 0% คือ คนติดเชื้อไวรัสเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงทั้งหมด
    162:8 = ประสิทธิภาพ 95% นี้คือตัวเลขที่วัคซีน Pfizer/BioNTech ทำได้ในการทดสอบ
    วิธีคำนวณเป็นสมการง่ายๆ ดังนี้
  • ความหมายของอัตราประสิทธิภาพจึงไม่ได้หมายความว่า ในจำนวนคนที่ฉีดวัคซีน 100 คน จะมีคนติดเชื้อไวรัส 5 คน แต่ความหมายคือ คนที่ได้วัคซีนมีโอกาสน้อยกว่าคนที่ไม่ได้วัคซีน 95% ที่จะติดเชื้อไวรัสเมื่อมีการสัมผัสเชื้อไวรัสในแต่ละครั้ง
  • ทุกวัคซีนทดสอบประสิทธิภาพโดยใช้วิธีการเดียวกัน แต่อยู่ในคนละสถานการณ์ วัคซีน Pfizer/BioNTech และ Moderna ทดสอบในช่วงที่มีการระบาดน้อยกว่า โอกาสที่คนจะสัมผัสเชื้อไวรัสในกลุ่มทดสอบไม่สูงมาก แต่วัคซีนจากบริษัทอื่นๆ เช่น Johnson & Johnson ทดสอบในช่วงที่การระบาดสูงกว่ามาก โอกาสที่คนจะสัมผัสเชื้อไวรัสในกลุ่มทดสอบจึงมีสูงกว่าเช่นกัน และยังมีการทดสอบในหลายประเทศร่วมด้วย นอกจากนี้ในบางประเทศยังพบเชื้อไวรัสที่กลายพันธ์ร่วมอยู่ด้วย
  • ดังนั้นถ้าต้องการวัดประสิทธิภาพของวัคซีนจริง ต้องทำการทดสอบในสถานการณ์เดียวกัน จำนวนประชากร เวลาเดียวกัน ร่วมทั้งปัจจัยควบคุมอื่น ๆ
  • ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าถ้านำวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna ที่มีตัวเลขสูงมากมาทดสอบอีกครั้ง มีโอกาสสูงที่จะได้เห็นตัวเลขที่แตกต่างจากการทดสอบครั้งแรก ตัวเลขของประสิทธิภาพจึงบอกแค่ผลการทดสอบ ณ ช่วงของการทดสอบนั้นเท่านั้น ไม่ได้บอกประสิทธิภาพความเป็นจริงของวัคซีน
  • นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญจำนวณมากต่างออกมาโต้แย้งการนำตัวเลขของประสิทธิภาพของการทดสอบ มาใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้วัคซีน เพราะการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่สำคัญของการพิจารณาว่าประชาชนต้องได้รับวัคซีนหรือไม่
  • จุดประสงค์สำคัญสูงสุดของการฉีดวัคซีนคือ ไม่มีความจำเป็นต้องทำให้การติดเชื้อเป็นศูนย์ แต่คือการลดความสามารถของเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัส
  • ถ้าประเมินตามจุดประสงค์ของการได้รับวัคซีนคือ การป้องกันอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต พบว่า วัคซีนที่มีในปัจจุบันจากทุกบริษัททำได้ดีทั้งหมด หมายถึงแม้ว่าคนที่ได้รับวัคซีนจะติดเชื้อไวรัสแต่ก็จะมีอาการเป็นไข้เพียงเล็กน้อย ไม่ถึงระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาพิเศษในโรงพยาบาล เช่น อาการหายใจมีปัญหาจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • จากการทดสอบวัคซีนจากทุกบริษัทในปัจจุบัน ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงและติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่มีรายงานคนป่วยรุนแรง ไม่มีเคสเสียชีวิต หรือต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยพิเศษ
  • ส่วนที่สำคัญคือ ทุกวัคซีน มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันการเสียชีวิต
วัคซีนควรป้องกันอาการรุนแรง และการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสได้

ทุกวัคซีน มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันการเสียชีวิต

ดังนั้น วัคซีนโควิด-19 เท่าที่มีการทดสอบและรายงาน มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรง ป้องกันการเสียชีวิต และป้องกันการแพร่ระบาดได้ ตัวเลขการเปรียบเทียบอัตราประสิทธิภาพของวัคซีนที่แตกต่างกัน เป็นเพียงผลทดสอบ ณ ช่วงเวลานั้นๆ เพียงเท่านั้น ไม่ควรให้ความสำคัญมากจนเกินไป แต่สิ่งที่สำคัญควรเป็นการให้ประชาชนได้รับวัคซีนให้ทั่วถึงและรวดเร็วมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบในแง่ของสุขภาพและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

อ้างอิง

https://www.hfocus.org/content/2021/02/21115
https://www.vox.com/22311625/covid-19-vaccine-efficacy-johnson-moderna-pfizer
https://www.vox.com/22273502/covid-vaccines-pfizer-moderna-johnson-astrazeneca-efficacy-deaths
https://www.biospace.com/article/comparing-covid-19-vaccines-pfizer-biontech-moderna-astrazeneca-oxford-j-and-j-russia-s-sputnik-v/

sarapukhttp://www.amphur.in.th
คนที่อยากเห็น Biomedical Engineering ของประเทศไทย พัฒนาก้าวไกล

Stay Connected

16,985แฟนคลับชอบ
2,458ผู้ติดตามติดตาม

Press release

Advertorial

Related News

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.