Home Biomaterial ของเหลือจากการผ่าตัดหัวใจคือแหล่งทรัพยากร stem cells

ของเหลือจากการผ่าตัดหัวใจคือแหล่งทรัพยากร stem cells

0
stem cell

กลุ่มวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล (Univerysity of Bristol) ได้ทำการสกัดเอา stem cells จากหลอดเลือดดำ เพื่อนำมาทดลองใช้กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นเลือดใหม่ในหนู

นักวิจัยกล่าวว่าการค้นพบนี้จะทำให้การรักษากล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายเป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้าน stem cell กล่าวเตือนว่า การรักษายังต้องใช้เวลาอีกนาน

Stem cells เป็นสิ่งที่ถูกจับตามองในวงการวิจัยทางการแพทย์ เนื่องด้วยความสามารถในการผลิตเซลล์ต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ อีกทั้งยังสามารถมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายโดยโรคภัยไข้เจ็บและจากการบาดเจ็บ

ในขณะที่ตัวอ่อนของมนุษย์เริ่มพัฒนามาจากเซลล์ต้นกำเนิดเพียง “pluripotent” cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อเยื่อทุกชนิด ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามที่จะสกัดนำเซลล์นี้ออกมาจากผู้ใหญ่เพื่อที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนและนำไปใช้ต่อไป

การค้นพบครั้งล่าสุดเป็นการนำ “ขยะ” จากการผ่าตัดหัวใจจำนวนมากในแต่ละปีมาใช้

คนไข้โรคหัวใจมักจะพบปัญหาหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจนั้น เกิดการตีบตัน ทำให้เนื้อเยื่อหัวใจถูกทำลายจากการขาดเลือด ซึ่งนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอกและหัวใจวาย

การทำบายพาสหัวใจ (a heart bypass operation) จะทำโดยนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายซึ่งโดยปกติจะใช้หลอดเลือดจากขาของคนไข้ และนำมาใช้แทนที่หลอดเลือดหัวใจที่อุดตันหรือตีบตัน

โดยการผ่าตัดนั้นมักจะนำหลอดเลือดจากขา ในส่วนที่เกินกว่าการใช้งานจริง

ในการศึกษา ทีมมหาวิทยาลัยบริสตัลได้สามารถนำส่วนที่เหลือจากการผ่าตัดนั้นมาสกัด “progenitor” cells ในห้องทดลอง และกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มจำนวนได้

การทดลองในหนู

เมื่อ stem cells ถูกฉีดเข้าไปในขาของหนูที่ถูกทำให้ขาดเลือดมาเป็นเวลานานเพื่อจำลองสถานการณ์ขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ พบว่าเซลล์บริเวณนั้นถูกกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่และทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น

Professor Paolo Madeddu ผู้นำการวิจัย กล่าวว่า “นี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีคนสามารถทำการสกัด stem cells ออกจากหลอดเลือดดำที่เหลือทิ้งในการผ่าตัดหัวใจ”

“เซลล์พวกนี้ยังสามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ ได้รับการรักษาเพิ่มเติมจาก stem cells จากร่างกายของพวกเขาเอง”

แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ยังต้องมีการศึกษาค้นคว้าอีกมาก กว่าวิธีการนี้จะสามารถนำไปใช้ในมนุษย์ได้จริง

Professor Qingbo Xu แห่ง King’s College London กล่าวว่า กลไกการทำงานของเซลล์ยังจำเป็นต้องถูกทำการศึกษาเพื่อความเข้าใจที่ถ่องแท้อีกมาก

“วิธีการนี้มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ได้จริงในอนาคต แต่คงจะไม่สามารถใช้รักษากับผู้ป่วยที่ถูกทำผ่าตัดบายพาสหัวใจคนเดียวกัน เพราะ stem cells ต้องใช้เวลาในการสกัดและกระตุ้นให้เพิ่มจำนวนในห้องทดลอง”

“แต่มันคงยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าเราจะสามารถทำการทดลองจริงกับผู้ป่วยได้”

Professor Peter Weissberg หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ของ the British Heart Foundation ผู้ให้การสนับสนุนงานวิจัย กล่าวว่า โอกาสในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายนั้น เปรียบเสมือน “holy grail” สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

เขายังกล่าวอีกว่า “งานวิจัยนี้ทำให้การใช้ยีนบำบัด (gene therapy) กับหัวใจที่มีปัญหาเข้าใกล้ความเป็นจริงมากอีกระดับหนึ่ง และที่สำคัญคือหากเราค้นพบได้ว่า chemical messages ที่ใช้ในการกระตุ้นของ stem cells คืออะไร ในอนาคตเราอาจจะมียาที่สามารถรักษากล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายโดยตรงเลยก็ได้”

ที่มา : https://news.bbc.co.uk

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version