Home News Probiotics ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคในระบบทางเดินอาหารได้อย่างไร

Probiotics ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคในระบบทางเดินอาหารได้อย่างไร

0
ผลการทำงานของ Prebiotics ในลำไส้

Probiotics , Prebiotics and Synbiotics คืออะไร?

Probiotics : ตามความหมายขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หมายถึง จุลชีพที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อเราบริโภคเข้าไปในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเรา ตัวอย่าง probiotics ที่รู้จักกันดี เช่น Bifidobacterium  spp. , Lactobacillus casei ,Streptococcus thermophiles ปัจจุบันมีการนำเชื้อกลุ่มนี้ใส่เข้าไปในอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณ probiotics ในร่างกาย  เช่น นมเปรี้ยว ยาคูลท์ โยเกิร์ต พบได้ทั่วไปในท้องตลาด

Probiotics ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคในระบบทางเดินอาหารได้อย่างไร?

มีการศึกษาพบว่า probiotics มีผลในการยับยั้งการเจริญของจุลชีพก่อโรค, ยับยั้งการอักเสบ, เพิ่มภูมิคุ้มกัน รวมถึงเพิ่มความแข็งแรงให้เยื่อบุทางเดินอาหาร แต่ probiotics บางชนิดกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเลือก probiotics สำหรับการรักษาโรคในระบบทางเดินอาหารจึงต้องเลือกชนิดของเชื้อให้ถูกต้องเหมาะสม

Prebiotics : หมายถึงอาหารที่ไม่ถูกย่อยด้วยระบบทางเดินอาหารของคนเรา แต่จะถูกย่อยหรือเป็นอาหารสำหรับจุลชีพที่อยู่ในลำไส้เรา ดังนั้นถ้าเราเลือกรับประทาน prebiotics ที่เป็นอาหารของ probiotics ก็จะทำให้ probiotics ที่เป็นประโยชน์เพิ่มจำนวนและอยู่ได้นานในลำไส้  และเมื่อ prebiotics ถูกย่อยด้วยแบคทีเรียในลำไส้กลายเป็นกรดไขมันสายสั้นๆ ทำให้ลำไส้มีความเป็นกรดมากขึ้นซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อก่อโรค และกรดไขมันที่เกิดขึ้นยังกลายเป็นแหล่งพลังงานสำหรับเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ได้อีกด้วย

Prebiotics เป็นสารประเภท oligosaccharide ตัวอย่าง เช่น oligofructose, galacto-oligosaccharides(GOS) และ lactulose

Synbiotics : หมายถึงประโยชน์จากการเลือกใช้ probiotics และ prebiotics ที่เหมาะสม โดยช่วยให้ probiotics เจริญอยู่ได้นานในทางเดินอาหารของเรา  เช่นการให้ L. plantarum ร่วมกับ oligofructose ในเด็กแรกเกิดพบว่าเชื้อสามารถอยู่ในลำไส้ได้นานกว่า 6 เดือน

อ้างอิง : Geoffrey AP, James V.Targeting  the  Human Microbiome with Antibiotics, Probiotics, and Prebiotics : Gastroenterology Enters the Metagenomics Era.J gastro 2009;136:2015-2031.

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Exit mobile version