33.8 C
Bangkok

Popular

- Advertisement -

Most Commented

“ยากับคุณ” บริการข้อมูลความรู้ด้านยา

“ยากับคุณ” (Ya&You) เป็นแอพพลิเคชันสำหรับสืบค้นและบริการข้อมูลความรู้ด้านยาและสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ยาและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์

ไบโอเซนเซอร์ตรวจหาเชื้อโรค 16 ชนิดที่แตกต่างกันในครั้งเดียว

นักวิจัยจาก Stratophase จากประเทศอังกฤษ ได้เผยแพร่งานวิจัยในวารสารวิชาการ Biosensors and Bioelectronics เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เรียกว่า SpectroSens chip เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดทางแสงแบบใหม่ โดย chip ตัวเดียวสามารถที่จะตรวจหาเชื้อโรคหรือสารชีวเคมีที่แตกต่างกันได้กว่า 16-20 ชนิดได้ในครั้งเดียว ซึ่งเป็นกลุ่มของสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น กลุ่มเชื้อโรคระบาด เชื้อแอนแทรกซ์ สารพิษ เป็นต้นchip ทำงานด้วยแสงสะท้อนที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน และในตำแหน่งที่แตกต่างกัน ตัวสะท้อนแสงหรือที่เรียกว่า Bragg gratings...

ระบบอ่านผล ELISA ด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดได้เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ Lab on a Chip ซึ่งได้อธิบายเทคโนโลยีใหม่ในการอ่านผล ELISA ด้วยกล้องในโทรศัพท์มือถือ ถือว่าเป็นระบบที่จะช่วยให้แพทย์วินิขฉัยโรคได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอส่งตัวอย่างไปที่ห้องปฎิบัติการ

Aptamer คู่แข่งรายใหม่ของ antibody

Aptamer คือ DNA หรือ RNA สายเดี่ยว ที่สามารถจับกับโมเลกุลเป้าหมายได้อย่างจำเพาะ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงรูปร่างในโครงสร้าง 3 มิติ เพื่อจับกับโมเลกุลเป้าหมาย Aptamer สามารถจับกับโมเลกุลต่างๆ ได้หลากหลาย

เปรียบเทียบภาพจากกล้อง Confocal กับ Wide-field Fluorescence Microscope

Confocal กับ Wide-field Fluorescence Microscope มีจุดต่างกันเล็กน้อยตรงที่กล้อง Confocal จะบีบลำแสงให้แคบลงเพื่อให้ได้ภาพเฉพาะส่วนในโฟกัส (ทำให้มองเห็นภาพในแนวลึกได้ด้วย) แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการสร้างภาพที่ช้าลงเพราะต้องแสกนภาพทีละจุดมาประกอบเป็นหนึ่งภาพ

อนุภาคนาโน: สองหมัดน๊อคมะเร็ง

อนุภาคนาโนถูกใช้เพื่อผลลัพท์ของการนำส่งยาไปยังเซลล์มะเร็งที่ดีขึ้นด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบจากจับตัวของเลือดในร่างกาย นักวิจัยได้ออกแบบอนุภาคนาโนที่สามารถค้นหาเซลล์เนื้อร้าย และหลังจากนั้นก็ส่งสัญญาณเรียกอนุภาคนาโนอีกชนิดหนึ่งเพื่อขนส่งยามาฆ่าเซลล์มะเร็งได้ถูกที่Sangeeta Bhatia นักชีววิศวกรรม แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่แมสซาซูเสตต์ และเพื่อนร่วมงานของเธอพบว่า เธอสามารถเพิ่มปริมาณยาที่ส่งไปยังเซลล์มะเร็งในหนูได้ถึง 40 เท่าเทียบกับกลุ่มควบคุม เมื่อใช้อนุภาคนาโนสองชนิดร่วมกัน ซึ่งเซลล์เนื้องอกในกลุ่มที่ใช้อนุภาคนาโนสองชนิดหยุดการเจริญเติบโตทันที ในขณะที่หนูกลุ่มที่ได้รับอนุภาคนาโนเพียงแค่หนึ่งชนิด เซลล์เนื้องอกก็ยังสามารถเจริญเติบโตได้ต่อไปได้ทีมของ Bhatia ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความสามารถของระบบการจับตัวเป็นลิ่มของเลือดเพื่อเพิ่มการตอบสนองที่มากขึ้นที่บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ การจับตัวเป็นลิ่มของเลือดเกิดจากปฏิกิริยาต่อเนื่องที่นำไปสู่โครงสร้างที่ประสานกันของโปรตีนที่ชื่อว่า ไฟบรินทีมนักวิจัยได้ออกแบบอนุภาคนาโนที่ได้อาศัยปฏิกิริยาต่อเนื่องของการจับตัวเป็นลิ่มของเลือด “เราใช้กระบวนการขยายสัญญาณโดยธรรมชาติของร่างกายเพื่อที่จะให้ยาตรงไปสู่เป้าหมายได้มากขึ้น” Bhahia กล่าว ซึ่งงานวิจัยชี้นนี้ได้ตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature material...

เลเซอร์ชีวภาพ

เลเซอร์ กุญแจสำคัญของการติดต่อสือสาร เก็บข้อมูล และยังคงเป็นตัวแปรสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วถูกผลิตออกมาจากสิ่งไม่มีชวิต เช่น ของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส แต่ว่าปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีการผลิตเลเซอร์ได้ก้าวไกลออกไปอีกขั้น คือ เลเซอร์ทางชีวภาพ โดยการสร้างมีพื้นฐานมาจากเซลล์เพียงเซลล์เดียว ซึ่งในอนาคตข้างหน้า เราอาจจะได้ใช้เลเซอร์ชนิดนี้ เพื่อการตรวจและรักษาโรค บางทีอาจจะถึงขั้นฆ่าเซลล์มะเร็งจากภายในร่างกายเลยก็เป็นไปได้จากการค้นพบเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว เลเซอร์คือเครื่องขยายแสง มันทำงานโดยการกระตุ้นอะตอม หรือโมเลกุลของแก๊ส...

โปรแกรม AngioViz วิเคราะห์การไหลของหลอดเลือดผ่านการรับรองจาก FDA แล้ว

GE Healthcare ได้รับการรับรองจาก FDA ในการใช้โปรแกรมชื่อ AngioViz ที่ใช้ภาพจาก Digital Subtraction Angiography (DSA) เพื่อสร้างภาพการไหลของเลือดในหลอดเลือดในสมองหรือในอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกาย
- Advertisement -

Editor Picks